Skip to main content

ข้าวโพด เนื้อหา ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ถิ่นกำเนิด การนำเข้ามาในประเทศไทย ชนิดของข้าวโพด คุณค่าทางโภชนาการ ปริมาณข้าวโพด ประโยชน์ในด้านอื่นๆ อ้างอิง แหล่งข้อมูลอื่น รายการเลือกการนำทางLink to USDA Database entryUSDA Nutrient Database"FAOSTAT"Plant-assisted phenanthrene and pyrene biodegradation in acidic soilComparing Anthracene and Fluorene Degradation in Anthracene and Fluorene-Contaminated Soil by Single and Mixed Plant CultivationPhytoremediation of Endosulfan Sulfate-Contaminated Soil by Single and Mixed Plant Cultivationsข้าวโพด เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ข้าวโพด เว็บไซต์กรมวิชาการเกษตรข้าวโพด"Tracking the Ancestry of Corn Back 9,000 Years," New York Times, May 25, 2010Crop Wild Relatives Gap Analysis PortalGrowing CornZea mays at Plants For A FutureMaize Genetics and Genomics Database projectThe Maize Genome Sequence BrowserCornZea mays, corn taxonomy, facts, life cycle, kernel anatomy at GeoChemBio.comMajor topic "Zea mays": free full text articles in National Library of Medicine

Articles with 'species' microformatsธัญพืชหญ้าพืชส่งเสริมการย่อยสลายสารมลพิษ


ชื่อวิทยาศาสตร์Linn.กระบี่กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอนบาสซ่าประเทศเม็กซิโกคริสโตเฟอร์ โคลัมบัสหม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากรหลวงสุวรรณวาจกกสิกิจแคลอรี่สหรัฐอเมริกาจีนบราซิลเม็กซิโกอินโดนีเซียอินเดียฝรั่งเศสอาร์เจนตินาพีเอเอชฟีแนนทรีนไพรีนแอนทราซีนเอนโดซัลแฟนฟื้นฟู










(function()var node=document.getElementById("mw-dismissablenotice-anonplace");if(node)node.outerHTML="u003Cdiv class="mw-dismissable-notice"u003Eu003Cdiv class="mw-dismissable-notice-close"u003E[u003Ca tabindex="0" role="button"u003Eปิดu003C/au003E]u003C/divu003Eu003Cdiv class="mw-dismissable-notice-body"u003Eu003Cdiv id="localNotice" lang="th" dir="ltr"u003Eu003Cp class="mw-empty-elt"u003Eu003C/pu003Eu003C/divu003Eu003C/divu003Eu003C/divu003E";());




ข้าวโพด




จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี






ไปยังการนำทาง
ไปยังการค้นหา

















ข้าวโพด

Zea mays.jpg
ข้าวโพดชนิดต่างๆ

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

อาณาจักร:

Plantae
หมวด:

Magnoliophyta
ชั้น:

Liliopsida
อันดับ:

Poales
วงศ์:

Poaceae
สกุล:

Zea
สปีชีส์:

Z.  mays

ชื่อทวินาม

Zea mays
L.



ลักษณะของข้าวโพด





Zea mays "fraise"





Zea mays "Oaxacan Green"





Zea mays "Ottofile giallo Tortonese”


ข้าวโพด (ชื่อวิทยาศาสตร์: Zea mays Linn.) ชื่ออื่นๆ ข้าวสาลี สาลี (เหนือ) คง (กระบี่) โพด (ใต้) บือเคเส่ะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) เป็นพืชตระกูลเดียวกับหญ้ามีลำต้นสูง โดยเฉลี่ย 2.2 เมตร ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้น 0.5-2.0 นิ้ว เมล็ดจากฝักใช้เป็นอาหารคนและสัตว์




เนื้อหา





  • 1 ลักษณะทางพฤกษศาสตร์


  • 2 ถิ่นกำเนิด


  • 3 การนำเข้ามาในประเทศไทย


  • 4 ชนิดของข้าวโพด


  • 5 คุณค่าทางโภชนาการ


  • 6 ปริมาณข้าวโพด


  • 7 ประโยชน์ในด้านอื่นๆ


  • 8 อ้างอิง


  • 9 แหล่งข้อมูลอื่น




ลักษณะทางพฤกษศาสตร์


ข้าวโพดเป็นพืชจำพวกบาสซ่า รากชั่วคราว เรียกว่า ไพรี หลังจากข้าวโพดเจริญเติบโตได้ประมาณ 7 – 10 วัน รากถาวรจะงอกขึ้นรอบ ๆ ข้อปลาในระดับใต้พื้นดินประมาณ 1-2 นิ้ว รากถาวรนี้ เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะแผ่ออกไปโดยรอบประมาณ 100 เซนติเมตร รากของข้าวโพดเป็นระบบรากฝอย (fibrous root system) นอกจากรากที่อยู่ใต้ดินแล้ว ยังมีรากยึดเหนี่ยว (brace root) ซึ่งเกิดขึ้นรอบ ๆ ข้อที่อยู่ใกล้ผิวดิน มีลำต้นตั้งตรงแข็งแรง เนื้อภายในฟ่ามคล้ายฟองน้ำสูงประมาณ 1.4 เมตร ลำต้นมีข้อ (node) และปล้อง (internode) ปล้องที่อยู่ในดินและใกล้ผิวดินสั้น และจะค่อย ๆ ยาวขึ้นไปทางด้านปลาย ปล้องเหนือพื้นดินจะมีจำนวนประมาณ 8-20 ปล้อง ลำต้นสดมีสีเขียว ใบ ยาวรี เป็นเส้นตรงปลายแหลม ยาวประมาณ 30-100 ซม. เส้นกลางของใบจะเห็นได้ชัด ตรงขอบใบมีขนอ่อนๆ มีเขี้ยวใบ ลักษณะของใบรวมทั้งสีของใบแตกต่างกันไป แล้วแต่ชนิดของพันธุ์ บางพันธุ์ใบสีเขียว บางพันธุ์ใบสีม่วงและบางพันธุ์ใบลาย จำนวนใบก็เช่นเดียวกันอาจมีตั้งแต่ 8-48 ใบ ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่ในต้นเดียวกัน ช่อดอกตัวผู้อยู่ส่วนยอดของลำต้น ช่อดอกตัวเมียอยู่ต่ำลงมาอยู่ระหว่างกาบของใบ และลำต้น ช่อดอกตัวผู้ (tassel) อยู่ตอนบนสุดของลำต้น ดอกตัวผู้ดอกหนึ่งจะมีอับเกสร (anther) 3 อับ ส่วนดอกตัวเมียอยู่รวมกันเป็นช่อ เกิดขึ้นตอนข้อกลาง ๆ ลำต้น ฝักเกิดจากดอกตัวเมียที่เจริญเติบโตแล้ว ฝักอ่อนจะมีสีเขียว พอแก่เป็นสีนวล อีตุอีตะ



ถิ่นกำเนิด


เป็นที่ยอมรับกันว่า ข้าวโพดมีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกา อาจจะเป็นอเมริกากลางเช่นในประเทศเม็กซิโก หรืออาจจะเป็นอเมริกาใต้ ในปี พ.ศ. 2035 เมื่อคริสโตเฟอร์ โคลัมบัสค้นพบทวีปอเมริกา ยังไม่พบการปลูกข้าวโพดในทวีปอื่น ๆ ต่อมาปี พ.ศ. 2036 โคลัมบัสจึงนำข้าวโพดกลับไปยังยุโรปแล้วข้าวโพดจึงได้เกิดการขยายพันธุ์ต่อไป[1]
ปัจจุบันนิยมปลูกแพร่หลายในแถบอเมริกา แคนาดา สามารถปลูกได้ในสภาพที่ภูมิอากาศแตกต่างกันมาก ๆ เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของสัตว์ เพราะสามารถนำมาเลี้ยงสัตว์ได้ทั้งต้น ใบ และเมล็ด



การนำเข้ามาในประเทศไทย


สำหรับประเทศไทย คนไทยรู้จักนำข้าวโพดมาเลี้ยงสัตว์ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 โดย หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร ได้นำข้าวโพดพันธุ์ที่ใช้เลี้ยงสัตว์มาปลูกและทดลองใช้เลี้ยงสัตว์ ซึ่งในขณะนั้นเป็นยังเป็นที่รู้จักกันน้อย จนกระทั่งหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 การใช้ข้าวโพดเริ่มแพร่หลายขึ้นเนื่องจาก หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจได้นำการเลี้ยงไก่แบบการค้ามาเริ่มสาธิต และกระตุ้นให้ประชาชนปฏิบัติตามผู้เลี้ยงไก่จึงรู้จักใช้ข้าวโพดมากขึ้นกว่าเดิม แต่เนื่องจากระยะนั้นข้าวโพดมีราคาสูงและหายาก การใช้ข้าวโพดจึงใช้เป็นเพียงส่วนประกอบของอาหารหลัก ซึ่งมีรำและปลายข้าวเป็นส่วนใหญ่ แต่ในปัจจุบันผู้เลี้ยงสัตว์รู้จักข้าวโพดกันทั่วไป และในปัจจุบันประเทศไทยได้ปลูกข้าวโพดในปีหนึ่ง ๆ เป็นจำนวนมาก



ชนิดของข้าวโพด


โดยทั่วไปข้าวโพดจัดออกเป็น 5 กลุ่ม คือ



  1. ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หรือข้าวโพดไร่ (Field Corn) ที่รู้จักในปัจจุบันเช่นข้าวโพดหัวบุ๋ม (Dent Corn) และข้าวโพดหัวแข็ง (Flint Corn) ซึ่งเป็นการเรียกตามลักษณะเมล็ดข้าวโพดหัวบุ๋มหรือหัวบุบ ข้าวโพดชนิดนี้เมื่อเมล็ดแห้งแล้วตรงส่วนหัวบนสุดจะมีรอยบุ๋มลงไป ซึ่งเป็นส่วนของแป้งสีขาว ข้าวโพดชนิดนี้สำคัญมากและนิยมปลูกกันมากใน ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะทางแถบคอร์นเบลท์ สีของเมล็ดมีตั้งแต่ขาวไปจนถึงเหลือง เนื่องจากมีหลายสายพันธุมีโปรตีนน้อยกว่าพวกข้าวโพดหัวแข็ง ข้าวโพดหัวแข็ง ข้าวโพดพันธุ์นี้ส่วนบนสุดของเมล็ดมักมีสีเหลืองจัดและเมื่อแห้งจะแข็งมาก ภายในเมล็ดมีสารที่ทำให้ข้าวโพดมีสีเหลืองจัดเป็นสารให้สีที่ชื่อ คริปโตแซนทีน (Cryptoxanthin) สารนี้เมื่อสัตว์ได้รับร่างกายสัตว์จะเปลี่ยนสารนี้ให้เป็นวิตามินเอ นอกจากนี้สารนี้ยังช่วยให้ไข่แดงมีสีแดงเข้ม ช่วยให้ไก่มีผิวหนัง ปาก เนื้อ และแข้งมีสีเหลืองเข้มขึ้น เป็นที่นิยมของตลาดโดยเฉพาะแถบอเมริกาส่วนอังกฤษนั้นนิยมใช้ข้าวโพดขาว [ประเทศไทยนิยมข้าวโพดเลี้ยงสัตว์แบบที่มีสีเหลืองเข้ม มีการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เกือบตลอดทั้งปี กระจายในพื้นที่ภาคกลาง ตอนกลางของประเทศ ภาคอีสานตอนบน และภาคเหนือ พื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จำนวนมากได้แก่ น่าน แพร่ เลย อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ ลพบุรี. เชียงใหม่]


  2. ข้าวโพดหวาน (Sweet Corn) เป็นข้าวโพดที่คนใช้รับประทาน ไม่มีการแปรรูป เมล็ดมักจะใสและเหี่ยวเมื่อแก่เต็มที่ เพราะมีน้ำตาลมาก ก่อนที่จะสุกจะมีรสหวานมากกว่าชนิดอื่น ๆ จึงเรียกข้าวโพดหวาน มีหลายสายพันธุ์


  3. ข้าวโพดคั่ว (Pop Corn) เป็นข้าวโพดที่คนใช้รับประทาน ไม่มีการแปรรูป เมล็ดค่อนข้างแข็ง สีดีและขนาดแตกต่างกัน สำหรับต่างประเทศ ถ้าเมล็ดมีลักษณะแหลมเรียกว่า ข้าวโพดข้าว (Rice Corn) ถ้าเมล็ดกลม เรียกว่า ข้าวโพดไข่มุก (Pearl Corn)


  4. ข้าวโพดแป้ง (Flour Corn) เมล็ดมีสีหลายชนิด เช่น ขาว (ขุ่น ๆ หรือปนเหลืองนิด ๆ) หรือสีน้ำเงินคล้ำ หรือมีทั้งสีขาวและสีน้ำเงินคล้ำในฝักเดียวกัน เนื่องจากกลายพันธุ์ พวกที่มีเมล็ดสีคล้ำและพวกกลายพันธุ์เรียกว่าข้าวโพดอินเดียนแดง (Squaw Corn) หรือเรียกได้อีกชื่อว่าข้าวโพดพันธุ์พื้นเมือง (Native Corn) พวกข้าวโพดสีคล้ำนี้จะมีไนอาซิน สูงกว่าข้าวโพดที่มีแป้งสีขาว


  5. ข้าวโพดเทียน (Waxy Corn) เป็นข้าวโพดที่คนใช้รับประทาน จะมีแป้งที่มีลักษณะเฉพาะคือ นุ่มเหนียว เพราะในเนื้อแป้งจะประกอบด้วยแป้งพวกแอมมิโลเปคติน (Amylopectin) ส่วนข้าวโพดอื่น ๆ มีแป้งแอมมิโลส (Amylose) ประกอบอยู่ด้วย จึงทำให้แป้งค่อนข้างแข็ง

ข้าวโพดที่ใช้เลี้ยงสัตว์ในประเทศไทยมีหลายพันธุ์ ที่นิยมปลูกในประเทศไทยได้แก่ พันธุ์กัวเตมาลา พียี 12 (Rep.1) กัวเตมาลา พีบี 12 (Rep.2) พีบี 5 ข้าวโพดเหนียว และโอเปค-2 มีเมล็ดตั้งแต่สีขาว สีเหลืองไปจนถึงสีแดง ขนาดของเมล็ดขึ้นอยู่กับพันธุ์ โดยทั่วไปจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางอยู่ในช่วง 0.5-0.8 ซม. ก่อนนำมาเลี้ยงสัตว์จึงต้องบดก่อนเพื่อช่วยให้การย่อยและการผสมได้ผลดีขึ้น ที่บดแล้วจะมีขนาดประมาณ 1-8 มม.



คุณค่าทางโภชนาการ


ข้าวโพด 100 กรัม จะให้พลังงาน 86 กิโลแคลอรี่ (คิดเป็น 10-19% ของพลังงานที่รางกายต้องการใน 1 วัน) และยังอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุต่างๆมากมาย ดังแสดงในตรางรางสารอาหาร



















































































Sweetcorn, yellow, raw
(seeds only)
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์)
พลังงาน360 kJ (86 kcal)
คาร์โบไฮเดรต
18.7 g
แป้ง5.7 g
น้ำตาล6.26 g
ใยอาหาร2 g

ไขมัน
1.35 g

โปรตีน
3.27 g
ทริปโตเฟน0.023 g
ทรีโอนีน0.129 g
ไอโซลิวซีน0.129 g
ลิวซีน0.348 g
ไลซีน0.137 g
เมไธโอนีน0.067 g
ซิสตีน0.026 g
ฟีนิลอะลานีน0.150 g
ไทโรซีน0.123 g
วาลีน0.185 g
อาร์จินีน0.131 g
ฮิสทิดีน0.089 g
อะลานีน0.295 g
กรดแอสปาร์ติก0.244 g
กลูตาเมต0.636 g
ไกลซีน0.127 g
โพรลีน0.292 g
ซีรีน0.153 g

วิตามิน

วิตามินเอ

lutein zeaxanthin


(1%)
9 μg
644 μg

ไทอามีน (บี1)

(13%)
0.155 มก.
ไรโบเฟลวิน (บี2)

(5%)
0.055 มก.
ไนอาซิน (บี3)

(12%)
1.77 มก.

กรดแพนโทเทนิก (บี5 )

(14%)
0.717 มก.
วิตามินบี6

(7%)
0.093 มก.
โฟเลต (บี9)

(11%)
42 μg
วิตามินซี
(8%)
6.8 มก.

แร่ธาตุ
เหล็ก
(4%)
0.52 มก.
แมกนีเซียม
(10%)
37 มก.
แมงกานีส
(8%)
0.163 มก.
ฟอสฟอรัส
(13%)
89 มก.
โพแทสเซียม
(6%)
270 มก.
สังกะสี
(5%)
0.46 มก.

องค์ประกอบอื่น
น้ำ75.96 g




Link to USDA Database entry
One ear of medium size (6-3/4" to 7-1/2" long)
maize has 90 grams of seeds


  • หน่วย

  • μg = ไมโครกรัม ● mg = มิลลิกรัม

  • IU = หน่วยสากล

ประมาณร้อยละคร่าว ๆ โดยใช้การแนะนำของสหรัฐอเมริกาสำหรับผู้ใหญ่
แหล่งที่มา: USDA Nutrient Database


ปริมาณข้าวโพด


ข้าวโพดเลี้ยงสัตวมีการปลูกกันมากทั่วโลก และมีปริมาการผลิตที่เพิ่มมากขึ้นทุกปีมากกว่าธัญพืชชนิดอื่นๆ ประเทศสหรัฐอเมริกา สามารถผลิตข้าวโพดมากถึง 40 % ของโลก และประเทศอื่นที่สามารถผลิตข้าวโพดได้มาก เช่น จีน, บราซิล, เม็กซิโก, อินโดนีเซีย, อินเดีย, ฝรั่งเศสและอาร์เจนตินา ในปี 2009 สามารถผลิตข้าวโพดได้ 817 ล้านตัน ซึ่งมากกว่าข้าวและข้าวสาลีที่ผลิตได้ 678 และ 682 ล้านตัน ตามลำดับ ในปี 2009 มีพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มากกว่า 3,900 ล้านไร่


























สิบอัดดับประเทศผู้ผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์[2]
ประเทศ
ปริมาณ (ตัน)

 สหรัฐ
353,699,441

 จีน
217,730,000

 บราซิล
80,516,571

 อาร์เจนตินา
32,119,211

 ยูเครน
30,949,550

 อินเดีย
23,290,000

 เม็กซิโก
22,663,953

 อินโดนีเซีย
18,511,853

 ฝรั่งเศส
15,053,100

 แอฟริกาใต้
12,365,000

 ทั้งโลก

1,016,431,783


ประโยชน์ในด้านอื่นๆ


ข้าวโพดสามารถส่งเสริมการย่อยสลายพีเอเอชที่ปนเปื้อนในดิน เช่นย่อยสลาย ฟีแนนทรีน ไพรีนได้ 90 % ที่ความเข้มข้นเริ่มต้น 100 mg/kg [3] และยังส่งเสริมการย่อยสลาย แอนทราซีน[4]เอนโดซัลแฟน ซัลเฟต[5]ได้ด้วย จึงมีประโยชน์ต่อการนำไปใช้ฟื้นฟูดินที่ปนเปื้อนสารมลพิษอินทรีย์



อ้างอิง




  1. อุดมแก้ว, อารีย์ลักษณ์ (2012). หงสาภินันทน์, ทวีศักดฺ์, ed. การปลูกข้าวโพดในประเทศไทย. ประเทศไทย: Something to read Co. p. 3. ISBN 978-616-241-212-7..mw-parser-output cite.citationfont-style:inherit.mw-parser-output qquotes:"""""""'""'".mw-parser-output code.cs1-codecolor:inherit;background:inherit;border:inherit;padding:inherit.mw-parser-output .cs1-lock-free abackground:url("//upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/6/65/Lock-green.svg/9px-Lock-green.svg.png")no-repeat;background-position:right .1em center.mw-parser-output .cs1-lock-limited a,.mw-parser-output .cs1-lock-registration abackground:url("//upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/d/d6/Lock-gray-alt-2.svg/9px-Lock-gray-alt-2.svg.png")no-repeat;background-position:right .1em center.mw-parser-output .cs1-lock-subscription abackground:url("//upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/a/aa/Lock-red-alt-2.svg/9px-Lock-red-alt-2.svg.png")no-repeat;background-position:right .1em center.mw-parser-output .cs1-subscription,.mw-parser-output .cs1-registrationcolor:#555.mw-parser-output .cs1-subscription span,.mw-parser-output .cs1-registration spanborder-bottom:1px dotted;cursor:help.mw-parser-output .cs1-hidden-errordisplay:none;font-size:100%.mw-parser-output .cs1-visible-errorfont-size:100%.mw-parser-output .cs1-subscription,.mw-parser-output .cs1-registration,.mw-parser-output .cs1-formatfont-size:95%.mw-parser-output .cs1-kern-left,.mw-parser-output .cs1-kern-wl-leftpadding-left:0.2em.mw-parser-output .cs1-kern-right,.mw-parser-output .cs1-kern-wl-rightpadding-right:0.2em


  2. "FAOSTAT". FOOD AND AGRICULTURE ORGANIZATION OF THE UNITED NATIONS. สืบค้นเมื่อ August 5, 2014.


  3. Chouychai, W., Thongkukiatkul, A., Upatham, S., Lee, H., Pokethitiyook, P., and Kruatrachue, M. (2009). Plant-assisted phenanthrene and pyrene biodegradation in acidic soil. Journal of Environmental Biology,30, 139-144


  4. Somtrakoon, K., W. Chouychai, H. Lee.Comparing Anthracene and Fluorene Degradation in Anthracene and Fluorene-Contaminated Soil by Single and Mixed Plant Cultivation International Journal of Phytoremediation. 2014. 16: 415-428. DOI: 10.1080/15226514.2013.803024


  5. Somtrakoon, K., M. Kruatrachue, and H. Lee.Phytoremediation of Endosulfan Sulfate-Contaminated Soil by Single and Mixed Plant Cultivations. Water, Air, & Soil Pollution. 2014, 225:1886




  • พันทิพา พงษ์เพียจันทร์. หลักการอาหารสัตว์ หลักโภชนศาสตร์และการประยุกต์. ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

  • ข้าวโพด เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

  • ข้าวโพด เว็บไซต์กรมวิชาการเกษตร



แหล่งข้อมูลอื่น






  • "Tracking the Ancestry of Corn Back 9,000 Years," New York Times, May 25, 2010


  • Crop Wild Relatives Gap Analysis Portal reliable information source on where and what to conserve ex-situ, regarding Zea genepool


  • Growing Corn Information on the uses and starting of corn seed


  • Zea mays at Plants For A Future

  • Maize Genetics and Genomics Database project

  • The Maize Genome Sequence Browser


  • Corn ที่ดีมอซ


  • Zea mays, corn taxonomy, facts, life cycle, kernel anatomy at GeoChemBio.com

  • Major topic "Zea mays": free full text articles in National Library of Medicine




ดึงข้อมูลจาก "https://th.wikipedia.org/w/index.php?title=ข้าวโพด&oldid=8092022"










รายการเลือกการนำทาง



























(RLQ=window.RLQ||[]).push(function()mw.config.set("wgPageParseReport":"limitreport":"cputime":"0.460","walltime":"0.636","ppvisitednodes":"value":5340,"limit":1000000,"ppgeneratednodes":"value":0,"limit":1500000,"postexpandincludesize":"value":102222,"limit":2097152,"templateargumentsize":"value":7790,"limit":2097152,"expansiondepth":"value":27,"limit":40,"expensivefunctioncount":"value":0,"limit":500,"unstrip-depth":"value":1,"limit":20,"unstrip-size":"value":7678,"limit":5000000,"entityaccesscount":"value":0,"limit":400,"timingprofile":["100.00% 511.171 1 -total"," 50.23% 256.769 7 แม่แบบ:Infobox"," 38.43% 196.437 1 แม่แบบ:Nutritionalvalue"," 23.87% 122.042 1 แม่แบบ:Taxobox"," 20.73% 105.952 1 แม่แบบ:Taxobox/core"," 17.64% 90.155 1 แม่แบบ:รายการอ้างอิง"," 11.93% 60.959 1 แม่แบบ:Cite_book"," 11.09% 56.705 10 แม่แบบ:Flag"," 10.39% 53.098 1 แม่แบบ:Convert"," 9.69% 49.517 1 แม่แบบ:Convert/kJ"],"scribunto":"limitreport-timeusage":"value":"0.127","limit":"10.000","limitreport-memusage":"value":2298438,"limit":52428800,"cachereport":"origin":"mw1262","timestamp":"20190625051408","ttl":2592000,"transientcontent":false););"@context":"https://schema.org","@type":"Article","name":"u0e02u0e49u0e32u0e27u0e42u0e1eu0e14","url":"https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%82%E0%B8%9E%E0%B8%94","sameAs":"http://www.wikidata.org/entity/Q11575","mainEntity":"http://www.wikidata.org/entity/Q11575","author":"@type":"Organization","name":"Contributors to Wikimedia projects","publisher":"@type":"Organization","name":"Wikimedia Foundation, Inc.","logo":"@type":"ImageObject","url":"https://www.wikimedia.org/static/images/wmf-hor-googpub.png","datePublished":"2006-12-27T00:42:20Z","dateModified":"2019-01-29T07:23:31Z","image":"https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/2/28/Zea_mays.jpg"(RLQ=window.RLQ||[]).push(function()mw.config.set("wgBackendResponseTime":138,"wgHostname":"mw1252"););

Popular posts from this blog

Canceling a color specificationRandomly assigning color to Graphics3D objects?Default color for Filling in Mathematica 9Coloring specific elements of sets with a prime modified order in an array plotHow to pick a color differing significantly from the colors already in a given color list?Detection of the text colorColor numbers based on their valueCan color schemes for use with ColorData include opacity specification?My dynamic color schemes

Invision Community Contents History See also References External links Navigation menuProprietaryinvisioncommunity.comIPS Community ForumsIPS Community Forumsthis blog entry"License Changes, IP.Board 3.4, and the Future""Interview -- Matt Mecham of Ibforums""CEO Invision Power Board, Matt Mecham Is a Liar, Thief!"IPB License Explanation 1.3, 1.3.1, 2.0, and 2.1ArchivedSecurity Fixes, Updates And Enhancements For IPB 1.3.1Archived"New Demo Accounts - Invision Power Services"the original"New Default Skin"the original"Invision Power Board 3.0.0 and Applications Released"the original"Archived copy"the original"Perpetual licenses being done away with""Release Notes - Invision Power Services""Introducing: IPS Community Suite 4!"Invision Community Release Notes

199年 目錄 大件事 到箇年出世嗰人 到箇年死嗰人 節慶、風俗習慣 導覽選單