จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี เนื้อหา การก่อตั้งจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี การเมืองการปกครอง นโยบายต่างประเทศ กองทัพ เศรษฐกิจ โครงสร้างพื้นฐาน ประชากรศาสตร์ ภาวะสงคราม การล้มล้างจักรวรรดิ อาณานิคมของจักรวรรดิ ธงและตราสัญลักษณ์ ดูเพิ่ม อ้างอิง แหล่งข้อมูลอื่น รายการเลือกการนำทาง"Donaumonarchie Österreich-Ungarn"The Austro-Hungarian MilitaryHeraldry of the Astro-Hungarian EmpireAustria–HungaryHistory of Austro-Hungarian currencyAustro-Hungarian Empireกกก
จักรวรรดิจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีรัฐสิ้นสภาพในประเทศฮังการีรัฐสิ้นสภาพในประเทศออสเตรียราชวงศ์ออสเตรียราชวงศ์ฮาพส์บวร์คจักรพรรดิออสเตรียรัฐสิ้นสภาพในทวีปยุโรปประวัติศาสตร์ออสเตรียรัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2410สิ้นสุดในปี พ.ศ. 2461
อังกฤษการปกครองแบบควบคู่พ.ศ. 2410พ.ศ. 2461สงครามโลกครั้งที่ 1จักรวรรดิออสเตรียค.ศ. 1804ค.ศ. 1867การเจรจาต่อรองระหว่างออสเตรียและฮังการีพ.ศ. 2410ราชวงศ์ฮาพส์บวร์คจักรพรรดิแห่งออสเตรียราชอาณาจักรฮังการีกษัตริย์แห่งฮังการีทวีปยุโรปกรุงเวียนนาประเทศออสเตรียกรุงบูดาเปสต์ประเทศฮังการีจักรวรรดิรัสเซียจักรวรรดิเยอรมันมงกุฎฮังการีอันศักดิ์สิทธิ์แห่งเซนต์สตีเฟนพ.ศ. 2410จักรวรรดิออสเตรียพ.ศ. 2347พ.ศ. 2410คาบสมุทรอิตาลีสงครามออสเตรีย-ซาร์ดีเนียพ.ศ. 2402สมาพันธรัฐเยอรมันปรัสเซียสงครามออสเตรีย-ปรัสเซียพ.ศ. 2409ประเทศฮังการีออสเตรียจักรวรรดิรัสเซียการปฏิวัติเสรีนิยมในประเทศฮังการีพ.ศ. 2391ออสเตรียจักรพรรดิฟรันซ์ โยเซฟชาวแม็กยาร์กรุงบูดาเปสต์พ.ศ. 2410เดือนเมษายนพ.ศ. 2449เดือนตุลาคมพ.ศ. 2450เดือนพฤศจิกายนพ.ศ. 2460พ.ศ. 2410แพน สลาฟรัสเซียเค้านท์กิวล่า แอนดราสซี จูเนียร์ค.ศ. 1860จักรวรรดิออตโตมันซาราเยโวพ.ศ. 2457สงครามรัสเซีย-ตุรกีเดือนสิงหาคมพ.ศ. 2421สนธิสัญญาเบอร์ลินเดือนสิงหาคมพ.ศ. 2422เดือนตุลาคมพ.ศ. 2451กรุงเวียนนามาตรวัดรายรับและผลผลิตของประเทศพ.ศ. 2413พ.ศ. 2456อังกฤษฝรั่งเศสเยอรมนีระบบคมนาคมทางรถไฟพ.ศ. 2384จักรวรรดิออสเตรียบราติสลาวากรุงบูดาเปสต์ปรากประเทศโปแลนด์ลูบลิยานาเวนิสประเทศอิตาลีพ.ศ. 2397การปฏิวัติพ.ศ. 2391สงครามไครเมียพ.ศ. 2397พ.ศ. 2422พ.ศ. 2422ค.ศ. 1870พ.ศ. 2422พ.ศ. 2443องค์การคมนาคมขนส่งทางรถไฟออสเตรียภาษาเยอรมันภาษาอิตาลีภาษาสลาฟพ.ศ. 2410ภาษาโครเอเชียดาลมาเทียพ.ศ. 2425สโลวีเนียคาร์นิโอล่าลูบลิยานาประเทศสโลวีเนียภาษาสโลวีเนียภาษาโปแลนด์พ.ศ. 2412กาลิเซียภาษายูเครนภาษาเช็กโบฮีเมียโมราเวียปรากสาธารณรัฐเช็กพ.ศ. 2425ประเทศสโลวาเกียโครเอเชียดาลมาเทียบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาประเทศเซอร์เบียชาตินิยมพ.ศ. 2402พ.ศ. 2421พ.ศ. 2410พ.ศ. 24115 เมษายนพ.ศ. 2440คาซิเมียร์ เฟลิกซ์ กราฟ บาเดอนีเดือนมกราคมพ.ศ. 2450ราชอาณาจักรฮังการีบียอร์สเตียร์เน มาร์ตินุส บียอร์สันนอร์เวย์รางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมจักรพรรดิฟรันซ์ โยเซฟ31 ธันวาคมพ.ศ. 2453จักรพรรดิแม็กซีมีเลียนอาร์คดยุครูดอล์ฟ มกุฎราชกุมารแห่งออสเตรีย-ฮังการีอาร์คดยุคฟรันซ์ เฟอร์ดินานด์28 มิถุนายนพ.ศ. 2457ซาราเยโวกาฟรีโล พรินซิปกลุ่มแบล็คแฮนด์สงครามโลกครั้งที่ 1การประชุมที่เบอร์ลิน (พ.ศ. 2421)ปิเอดมอนต์อิตาลีเซอร์เบียสงครามบอลข่านครั้งที่สองพ.ศ. 2455คอนราด วอน เฮิตเซนดอร์ฟเดือนกรกฎาคมเดือนสิงหาคมพ.ศ. 2457สงครามโลกครั้งที่ 1รัสเซียพ.ศ. 2458สมรภูมิเล็มเบิร์กเดือนมีนาคมพ.ศ. 2458เดือนพฤษภาคมเทือกเขาแอลป์พ.ศ. 2459จักรวรรดิอังกฤษฝรั่งเศสอิตาลีสหรัฐอเมริกาชาตินิยมประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาวูดโรว์ วิลสันจักรพรรดิคาร์ล14 ตุลาคมบารอนสเตฟาน วอน ราเจ็คส์เยอรมนีเช็กยูเครนประเทศโปแลนด์สาธารณรัฐเชโกสโลวักที่ 128 ตุลาคมพ.ศ. 246129 ตุลาคมรัฐแห่งชาวสโลวีน โครแอต และเซิร์บ31 ตุลาคม1113 พฤศจิกายนพ.ศ. 2461เดือนมีนาคมพ.ศ. 2463มิกโลช โฮร์ตีประเทศสวิตเซอร์แลนด์ประเทศโปรตุเกสราชอาณาจักรโรมาเนียราชอาณาจักรอิตาลีลิกเตนสไตน์สวิตเซอร์แลนด์
(function()var node=document.getElementById("mw-dismissablenotice-anonplace");if(node)node.outerHTML="u003Cdiv class="mw-dismissable-notice"u003Eu003Cdiv class="mw-dismissable-notice-close"u003E[u003Ca tabindex="0" role="button"u003Eปิดu003C/au003E]u003C/divu003Eu003Cdiv class="mw-dismissable-notice-body"u003Eu003Cdiv id="localNotice" lang="th" dir="ltr"u003Eu003Cp class="mw-empty-elt"u003Eu003C/pu003Eu003C/divu003Eu003C/divu003Eu003C/divu003E";());
จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี
ไปยังการนำทาง
ไปยังการค้นหา
จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี | ||||||||||||||||||||||||||
Österreich-Ungarn (เยอรมัน) Osztrák–Magyar Monarchia (ฮังการี) | ||||||||||||||||||||||||||
จักรวรรดิ | ||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||
เพลงชาติ Gott erhalte Franz den Kaiser ("ขอพระเจ้าทรงพิทักษ์พระจักรพรรดิฟรันซ์") Gott erhalte Franz den Kaiser | ||||||||||||||||||||||||||
อาณาเขตของออสเตรีย-ฮังการีในปี พ.ศ. 2457 (ค.ศ. 1914) | ||||||||||||||||||||||||||
เมืองหลวง | เวียนนา บูดาเปสต์ | |||||||||||||||||||||||||
ภาษา | ภาษาเยอรมัน ภาษาฮังการี ภาษาเช็กฯลฯ | |||||||||||||||||||||||||
รัฐบาล | ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ | |||||||||||||||||||||||||
จักรพรรดิแห่งออสเตรีย-กษัตริย์แห่งฮังการี | ||||||||||||||||||||||||||
- | 1848-1916 | ฟรันซ์ โยเซฟที่ 1 | ||||||||||||||||||||||||
- | 1916-1918 | คาร์ลที่ 1 แห่งออสเตรีย | ||||||||||||||||||||||||
ประวัติศาสตร์ | ||||||||||||||||||||||||||
- | สถาปนา | ค.ศ. 1867 | ||||||||||||||||||||||||
- | สิ้นสุด | 1918 | ||||||||||||||||||||||||
ประชากร | ||||||||||||||||||||||||||
- | ค.ศ. 1914 ประมาณการ | 52,800,000 | ||||||||||||||||||||||||
สกุลเงิน | กูลเด็น โครน | |||||||||||||||||||||||||
|
จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี รู้จักกันในนาม ออสเตรีย-ฮังการี (อังกฤษ: Austria-Hungary) เป็นจักรวรรดิที่มีระบอบการปกครองแบบควบคู่ (Dual Monarchy) เจริญรุ่งเรืองตั้งแต่ปีพ.ศ. 2410 จนถึง พ.ศ. 2461 หลังจากนั้น จักรวรรดินี้ถูกล้มล้างหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1
จักรวรรดินี้ได้สืบทอดมาจากจักรวรรดิออสเตรีย (ค.ศ. 1804-ค.ศ. 1867) โดยมีอาณาเขตพื้นที่เดียวกัน โดยมีต้นกำเนิดจากการเจรจาต่อรองระหว่างออสเตรียและฮังการี เมื่อปีพ.ศ. 2410 ซึ่งทั้งสองประเทศนี้ถูกปกครองโดยราชวงศ์ฮาพส์บวร์คมาช้านาน โดยเจรจาให้มีการรวมอาณาจักรเป็นหนึ่งเดียว โดยจักรวรรดินี้เป็นอาณาจักรที่มีหลากหลายเชื้อชาติและมีความเจริญรุ่งเรืองขีดสุด ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และอุตสาหกรรม
ราชวงศ์ฮาพส์บวร์คนั้นได้ปกครองประเทศในฐานะจักรพรรดิแห่งออสเตรีย (Emperor of Austria) และราชอาณาจักรฮังการีในฐานะกษัตริย์แห่งฮังการี (Apostolic King of Hungary) ผู้ทรงเปรียบเสมือนเบื้องขวาแห่งองค์พระผู้เป็นเจ้า นอกจากนั้นยังได้ปกครองทั่วทั้งทางตะวันตกและทางเหนือ รวมทั้งครึ่งหนึ่งของทวีปยุโรปเลยทีเดียว โดยทุกประเทศที่อยู่ภายใต้จักรวรรดินี้ มีรัฐบาลเป็นของตนเอง มิได้มีรัฐบาลและศูนย์กลางทางการเมืองหรือรัฐบาลที่ประเทศเดียว เมืองหลวงของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีนั้น มีอยู่ 2 เมืองด้วยกันคือ กรุงเวียนนา ที่ประเทศออสเตรีย และกรุงบูดาเปสต์ที่ประเทศฮังการี จักรวรรดินี้มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับสองรองจากจักรวรรดิรัสเซีย และเป็นอาณาจักรที่มีประชากรหนาแน่นเป็นอันดับ 3 รองจากจักรวรรดิรัสเซียและจักรวรรดิเยอรมัน ซึ่งปัจจุบันนี้ พื้นที่ที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดินั้นมีประชากรรวมทั้งหมดถึง 73 ล้านคน
เนื้อหา
1 ชื่ออย่างเป็นทางการ
2 การก่อตั้งจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี
3 การเมืองการปกครอง
3.1 บริหาร
3.2 นิติบัญญัติ
3.3 ตุลาการ
4 นโยบายต่างประเทศ
5 กองทัพ
5.1 กองทัพบก
5.2 กองทัพอากาศ
5.3 กองทัพเรือ
5.4 กองกำลังกึ่งทหาร
6 เศรษฐกิจ
7 โครงสร้างพื้นฐาน
7.1 การคมนาคม และ โทรคมนาคม
7.1.1 คมนาคม
7.1.2 โทรคมนาคม
7.2 วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี
7.3 การศึกษา
7.4 สาธารณสุข
8 ประชากรศาสตร์
8.1 ความสัมพันธ์ทางเชื้อชาติ
8.2 ภาษาต่างๆที่ใช้กันในจักรวรรดิ
8.3 ศาสนาและนิกายต่างในจักรวรรดิ
8.4 เมืองสำคัญ
9 ภาวะสงคราม
10 การล้มล้างจักรวรรดิ
10.1 ประเทศใหม่
10.2 พื้นที่และอาณาเขตของจักรวรรดิ
11 อาณานิคมของจักรวรรดิ
12 ธงและตราสัญลักษณ์
13 ดูเพิ่ม
14 อ้างอิง
15 แหล่งข้อมูลอื่น
ชื่ออย่างเป็นทางการ
ชื่ออย่างเป็นทางการของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ซึ่งรวมๆแล้วหมายถึงอาณาจักรอันศักดิ์สิทธิ์ภายใต้สภาอิมพีเรียลและมงกุฎฮังการีอันศักดิ์สิทธิ์แห่งเซนต์สตีเฟน
ชื่อของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีในแต่ละภาษา ดังนี้:
ภาษาเยอรมัน: Österreich-Ungarn
ภาษาฮังการี: Osztrák–Magyar Monarchia
ภาษาเช็ก: Rakousko-Uhersko
ภาษาอิตาลี: Austria-Ungheria
ภาษาโปแลนด์: Austro-Węgry
ภาษาบอสเนีย: Austro-Ugarska
ภาษาโรมาเนีย: Austro-Ungaria
ภาษาสโลวัก: Rakúsko-Uhorsko
ภาษาสโลวีเนีย: Avstro-Ogrska
ภาษาเซอร์เบีย: Aустро-Угарска, Austro-Ugarska
ภาษาโครเอเชีย: Austro-Ugarska
ภาษายูเครน: Австро-Угорщина
ภาษารุสซิน: Австро-Магярщина
การก่อตั้งจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี
หลังจากเกิดเหตุการณ์การเจรจาต่อรองระหว่างออสเตรียและฮังการีเมื่อปี พ.ศ. 2410 ซึ่งดำเนินการการรวมชาติการเป็นจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ และเป็นการสานต่อโครงสร้างของการปกครองที่คงตัวตั้งแต่เมื่อยังคงเป็นจักรวรรดิออสเตรีย ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2347ถึงพ.ศ. 2410 เพื่อปกป้องและขยายอำนาจของจักรวรรดิ ซึ่งรวมไปถึงคาบสมุทรอิตาลี (ซึ่งนำไปสู่สงครามออสเตรีย-ซาร์ดีเนียเมื่อปีพ.ศ. 2402 ท่ามกลางรัฐต่างๆของสมาพันธรัฐเยอรมัน ซึ่งถูกแทนที่โดยปรัสเซีย ซึ่งเป็นประเทศมหาอำนาจสูงสุดในกลุ่มประเทศเยอรมันทั้งมวล อันนำไปสู่สงครามออสเตรีย-ปรัสเซีย เมื่อปีพ.ศ. 2409 ทำให้ประเทศหลายประเทศต้องมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง รวมทั้งประเทศฮังการี ซึ่งมีการชุมนุมประท้วงที่ไม่พอใจที่ได้อย่ภายใต้การปกครองของออสเตรีย รวมทั้งการรวมเชื้อชาติต่างๆของจักรวรรดิออสเตรีย ฮังการีไม่พอใจต่อการปราบปรามจลาจลของออสเตรีย ซึ่งมีจักรวรรดิรัสเซียสนับสนุนอีกแรง ซึ่งนำไปสู่การปฏิวัติเสรีนิยมในประเทศฮังการี เมื่อปีพ.ศ. 2391 อย่างไรก็ตาม ความไม่พอใจของฮังการีต่อการปกครองของทางออสเตรียได้เกิดขึ้นเป็นเวลาหลายปี
ส่วนทางด้านออสเตรียซึ่งสนับสนุนระบอบกษัตริย์หรือจักรพรรดิอย่างเต็มที่ จักรพรรดิฟรันซ์ โยเซฟ ทรงริเริ่มที่จะเจรจากับฮังการี โดยเฉพาะกับกลุ่มผู้นำปฏิวัติของชาวแม็กยาร์ (ฮังกาเรียน) ให้มั่นใจและรับรองต่อระบอบการปกครองของพระองค์ โดยในที่สุด ประเทศฮังการีก็ยอมรับพระองค์เป็นประมุข โดยในฐานะสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งฮังการี โดยฮังการีได้ก่อตั้งรัฐสภาเป็นของตนเอง ณ กรุงบูดาเปสต์ เพื่อที่จะได้ออกกฎหมายเป็นของตนเอง ในนามของผืนแผ่นดินอันศักดิ์สิทธิ์แห่งเซนต์ สตีเฟน (The Holy Hungarian Land of St. Stephen)
การเมืองการปกครอง
โครงสร้างของการปกครองของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีนั้น มีอยู่ 3 ส่วนที่เด่นๆด้วยกัน ดังนี้
บริหาร
สภาคณะรัฐมนตรีของจักรวรรดิเป็นตัวควบคุมรัฐสภาทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วย 3 รัฐมนตรีที่มีส่วนร่วมในการควบคุมด้วย คือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีผู้ส่วนร่วมคนอื่นๆอีก เช่นอาร์คดยุคและอาร์ชดัชเชส รวมทั้งพระราชวงศ์อิมพีเรียลบางพระองค์อีกด้วย โดยคณะผู้แทนจากออสเตรีย 1 คน และจากฮังการีอีก 1 คนจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายของสภาสามัญของคณะรัฐมนตรีหรือการจัดการทรัพย์สินแผ่นดิน โดยให้ 2 รัฐบาลเป็นตัวกำหนดและควบคุมการบริหารและการจัดการทรัพย์สินแผ่นดิน อย่างไรก็ตาม ในขั้นตอนสุดท้ายของการประชุมทุกครั้ง คณะรัฐมนตรีจะต้องยื่นถวายฎีกาต่อจักรพรรดิ ซึ่งพระองค์ทรงเป็นผู้ตัดสินความทั้งหมด
หน้าที่รับผิดชอบระหว่างคณะรัฐมนตรีฝ่ายหนึ่งกับคณะรัฐมนตรีอีกฝ่ายหนึ่ง ได้สร้างความไม่ลงรอยกันและไร้ประสิทธิภาพในการบริหารงาน การบริหารกองทัพบกนั้นได้อยู่ในภาวะลำบาก เป็นกองทัพที่ไร้ประสิทธิภาพ ถึงแม้ว่ารัฐสภากลางได้กำหนดทิศทางการบริหารงานของกองทัพบก และกระทรวงกลาโหมแล้ว แต่รัฐบาลออสเตรียและรัฐบาลฮังการีจะมีการกำหนดกฎหมายบังคับ การเกณฑ์ทหาร การจัดหาและการย้ายทหารไปออกรบ และกฎหมายบังคับเฉพาะเมือง ที่ไม่ใช่ทหารเกณฑ์แต่เป็นสมาชิกของกองทัพบก โดยบางส่วนให้กระแสว่า แต่ละรัฐบาลควรจะเข้มแข็ง ควรเข้มงวดต่อการบริหารตัวเองมากกว่านี้ แทนที่จะไปใส่ใจรับผิดชอบรัฐสภาสามัญ
ความสัมพันธ์ทางการเมืองในครึ่งศตวรรษแรก หลังปีพ.ศ. 2410นั้น มีการขัดแย้งในเรื่องของการจัดการพิกัดอัตราภาษีศุลกากรหรือค่าธรรมเนียมภายนอก และการจัดการทางการเงินของคณะรัฐบาล ภายใต้ข้อกำหนดของการเจรจาต่อรองระหว่างออสเตรียและฮังการี รวมไปถึงข้อตกลงที่มีการเจรจาทุกๆ 10 ปี โดยกำหนดสิ่งที่ต้องทำในคณะรัฐบาลต่างๆ โดยมีการออมเงินเพื่อให้ความสับสนอลหม่านทางการเมืองได้คืนสู่สภาพกลับมาเป็นเหมือนเดิม การโต้เถียงระหว่างรัฐบาลในจักรวรรดิในช่วงปีค.ศ. 1900 ซึ่งทำให้ยืดระยะเวลาวิกฤติการเมืองการปกครองไปอีก ซึ่งมีความขัดแย้งกันในรัฐบาลรวมทั้งหน่วยรบและกองทัพของฮังการีเป็นตัวนำ ซึ่งเป็นการเพิ่มขยายอำนาจทางทหารของฮังการี เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2449 โดยมีนักชาตินิยมฮังการีมีส่วนเกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตาม การกลับสูสภาวะปกติในจักรวรรดิก็เป็นได้แค่เพียงชั่วคราว แต่ก็ได้จัดการให้กลับมาสู่สภาวะปกติเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2450 และในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2460 ได้วางรากฐานใหม่และสถานะใหม่ของจักรวรรดิใหม่ แต่ด้วยเวลาเพียงน้อยนิดเท่านั้น จักรวรรดิก็นำไปสู่กาลอวสาน...
นิติบัญญัติ
ออสเตรียและฮังการีต่างมีรัฐสภาเป็นของตนเอง และมีนายกรัฐมนตรีเป็นของตนเอง แต่รัฐสภาทั้งหมดอยู่ภายใต้อำนาจของจักรพรรดิหรือสมเด็จพระราชาธิบดีแต่เพียงพระองค์เดียว ด้วยอำนาจเบ็ดเสร็จและสภาของสำนักอิมพีเรียลนั้น มีหน้าที่เกี่ยวกับกองทัพราชนาวี การต่างประเทศ และสหภาพต่างในจักรวรรดิ เป็นต้น
ตุลาการ
นโยบายต่างประเทศ
เมื่อการเจรจาต่อรองระหว่างออสเตรียและฮังการีเพื่อรวมอาณาจักรเป็นหนึ่งเดียวเมื่อปีพ.ศ. 2410นั้น ทำให้ฮังการีได้ขาดสมดุลทางเสรีภาพและเกิดการหยิ่งทะนงในนักชาตินิยมแม็กยาร์ โดยมีชาวสลาฟเป็นแรงสนับสนุนอันเนื่องมาจากความเมตตาสงสารของสลาฟในตัวฮังการี ซึ่งช่วยกันพยายามที่จะปฏิรูประบอบประชาธิปไตย หลังจากทำการข้อตกลงเมื่อปีพ.ศ. 2410แล้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศได้หารือกับนายกรัฐมนตรีของฮังการี ซึ่งหลังจากได้รับการข่มขู่การยึดอำนาจของกลุ่มแพน สลาฟ ซึ่งรัสเซียได้เข้าใจถึงสถานการณ์นี้ เพราะรัสเซียก็ได้รับการข่มขู่เช่นกัน รัสเซียจึงยื่นมือเข้าช่วยเหลือ โดยร่วมหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศและเค้านท์กิวล่า แอนดราสซี จูเนียร์ ผู้แทนและบุตรชายของนายกรัฐมนตรีฮังการี
ในช่วงปีค.ศ. 1860 ความทะเยอะทะยานของออสเตรีย รวมทั้งอิตาลีและเยอรมนีทางต่างประเทศได้ถูกปิดกั้น โดยชาติมหาอำนาจอื่นๆ มีแต่ประเทศในแถบบัลข่านเท่านั้นที่ได้ขยายตัวทางด้านการต่างประเทศ จักรวรรดิได้นำการเจริญสัมพันธไมตรีทางด้านการทูตแบบใหม่มาใช้ โดยเริ่มแรกใช้โดยเค้านท์แอนดราสซี ซึ่งตอนนั้นได้เจริญสัมพันธไมตรีกับเขตพื้นที่บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาซึ่งชาวสลาฟในเขตนั้นเห็นว่ายังมีบางส่วนที่ยังเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออตโตมันอยู่ ซึ่งอาจนำไปสู่วิกฤติการณ์หลายอย่าง รวมทั้งการลอบปลงพระชนม์ที่เมืองซาราเยโว เมื่อปีพ.ศ. 2457อีกด้วย
ในกรณีที่อยู่ภายใต้วิกฤติการณ์บัลข่านหรือสงครามรัสเซีย-ตุรกี ออสเตรีย-ฮังการีได้อาศัยช่วงสงครามนี้เข้ายึดครองบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาได้ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2421 หลังจากมีการอนุมัติในสนธิสัญญาเบอร์ลิน ซึ่งทำให้ความสนใจในรัสเซียของบัลข่านมีความกระเตื้องตัวขึ้น โดยเกี่ยวข้องกับเยอรมนีในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2422 จักรวรรดิได้ผนวกบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2451 และได้เข้าควบคุมกระทรวงการคลังของบอสเนียมากกว่าการจัดการบริหารรัฐบาลแผ่นดิน โดยกำหนดให้บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา รวมทั้งโครเอเชียเป็นส่วนที่ 3 ของจักรวรรดิ และให้ชาวสลาฟเป็นส่วนหนึ่งของโครเอเชีย
กองทัพ
กองทัพออสเตรีย-ฮังการีอยู่ภายใต้พระมหากษัตริย์หรือจักรพรรดิเป็นองค์จอมทัพ
กองทัพบก
กองทัพบกของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีประกอบด้วยคนหลายเชื้อชาติในจักรวรรดิ ทำให้เกิดความยากลำบากด้านการสื่อสารทางภาษาและวัฒนธรรมที่แตกต่างหลากหลาย อีกทั้งขวัญกำลังใจของกองทัพยังถือว่าอยู่ในระดับต่ำ ทหารบกถือได้ว่าอ่อนแอไร้สรรมตภาพมาก แล้วยังมีความอ่อนแอในการคลังอาวุธกระสุนปืนใหญ่ ในสงครามก็แทบจะใช้หมดไปในปี1914 ต่อจากนั้นก็ขาดแคลนอย่างรุนแรง
กองทัพอากาศ
กองทัพอากาศออสเตรีย-ฮังการีมีเครืองบินเยอรมันรุ่นอบาสทรอน-เอ3เป็นส่วนใหญ่
กองทัพอากาศของจักรวรรดิออสเตรียนั้นประสบ
ปัญหาการขาดแคลนเครื่องบินรบและประสบความล้มเหลวในการรบเช่นการป้องกันแคว้นกาลิเซียจากกรมอากาศยานจักรวรรดิรัสเซีย หรือการรบที่แนวรบบูซิลอฟ จนต้องพึ่งกรมอากาศยานหลวงเยอรมันในการรบ
กองทัพเรือ
กองกำลังกึ่งทหาร
เศรษฐกิจ
สภาพเศรษฐกิจในจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีได้มีการเปลี่ยนแปลงตามการปกครอง ด้วยการที่มีระบอบการปกครองแบบพระมหากษัตริย์ควบคู่ (Dual Monarchy) ทางด้านเทคโนโลยีนั้นได้ขยายตัวทางด้านอุตสาหกรรมและการเปลี่ยนแปลงสภาพของเมืองต่างๆ ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมทางด้านการผลิตนั้นได้เติบโต และสามารถส่งออกไปต่างประเทศได้ในช่วงเวลา 50 ปีของการริเริ่มยุคกลางของการผลิตอุตสาหกรรม โดยในช่วงแรกนั้น ระบบเศรษฐกิจได้เจริญเติบโตเฉพาะในกรุงเวียนนา พื้นที่เขตอัลไพน์ และโบฮีเมีย แต่ต่อมา เมื่อถึงปลายศตวรรษที่ 19 ระบบเศรษฐกิจได้เจริญเติบโตในเขตพื้นที่ฮังการีตอนกลางและเขตพื้นที่คาร์พาเธียน ดังนั้น ระบเศรษฐกิจได้พัฒนาขึ้นในเขตจักรวรรดิในระยะเริ่มต้น โดยระบบเศรษฐกิจในจักรวรรดิฝั่งตะวันตกจะพัฒนาได้ดีและมากกว่าระบบเศรษฐกิจในฝั่งตะวันออก เมื่อแรกเริ่มศตวรรษที่ 20 จักรวรรดิหลายจักรวรรดิส่วนใหญ่ได้ริเริ่มพัฒนาระบบเศรษฐกิจและเทคโนโลยีต้อนรับศตวรรษใหม่ มาตรวัดรายรับและผลผลิตของประเทศ (GNP) เจริญเติบโตร้อยละ 1.45% ต่อปีตั้งแต่ปีพ.ศ. 2413ถึงพ.ศ. 2456 ซึ่งการเจริญเติบโตของรายรับและผลผลิตของจักรวรรดินี้ สามารถนำไปเปรียบเทียบกับระบบเศรษฐกิจชาติอื่นๆได้ เช่น อังกฤษ (1.00%), ฝรั่งเศส (1.06%), และเยอรมนี (1.51%) เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ระบบเศรษฐกิจของจักรวรรดิยังมีความล้าหลังกว่าชาติอื่นๆอยู่บ้าง เช่น อังกฤษมีรายรับและผลผลิตของประเทศเกือบ 3 เท่า ซึ่งมากกว่าจักรวรรดิถึงแม้ว่ามาตรวัดจะน้อยกว่า ในขณะเดียวกันที่เยอรมนี ได้มีรายรับและผลผลิตของประเทศ 2 เท่าซึ่งมากกว่าออสเตรีย-ฮังการีด้วยซ้ำ ทั้งในด้านGNPและมาตรวัดรายรับและผลผลิตของประเทศ ถึงแม้ว่าทุกประเทศนั้นจะมียอดพัฒนาระบบเศรษฐกิจไม่เหมือนกัน
ภาพวาดตลาดที่กรุงเวียนนา
ย่านการค้าในกรุงเวียนนา
โครงสร้างพื้นฐาน
การคมนาคม และ โทรคมนาคม
คมนาคม
ระบบคมนาคมทางรถไฟนั้น ได้ขยายอย่างรวดเร็ว โดยแรกเริ่มนั้น มีการสร้างทางรถไฟโดยเริ่มจากกรุงเวียนนาเมื่อปีพ.ศ. 2384 สมัยที่ออสเตรีย-ฮังการี ยังเป็นจักรวรรดิออสเตรียอยู่ ตรงจุดนั้นเองที่รัฐบาลได้ริเริ่มใช้ทางรถไฟเพื่อใช้ในด้านทหารและกองทัพบก โดยลงทุนเพื่อโครงสร้างทางทหารทั้งหมดให้ทางรถไฟเชื่อมต่อในเมืองต่างๆ เช่น เมืองโพสโซนี (ปัจจุบันคือเมืองบราติสลาวา เมืองหลวงของประเทศสโลวาเกีย), กรุงบูดาเปสต์ของฮังการี, กรุงปรากของโบฮีเมีย (ปัจจุบันคือสาธารณรัฐเช็ก), เมืองคราโคว์ (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของประเทศโปแลนด์), เมืองกราซของออสเตรีย, เมืองไลบาช (ปัจจุบันคือเมืองลูบลิยานา เมืองหลวงของประเทศสโลวีเนีย) และเมืองเวนิสของประเทศอิตาลี โดยเมื่อปีพ.ศ. 2397 จักรวรรดิได้มีรางรถไฟเกือบ 2000 กิโลกรัม ประมาณ 60% ถึง 70% ของรัฐเลยทีเดียว โดยรัฐบาลเริ่มทำการซื้อรางรถไฟส่วนใหญ่เพื่อใช้ส่วนตัวสำหรับนักลงทุน และการกระทำโดยฉับพลันของการใช้เงินมากเกินไปโดยใช้ผลประโยชน์จากการปฏิวัติพ.ศ. 2391 และสงครามไครเมีย ซึ่งออสเตรีย-ฮังการีไม่ได้มีส่วนกี่ยวข้องในสงครามนี้เลยแม้แต่น้อย โดยตั้งแต่ปีพ.ศ. 2397ถึงพ.ศ. 2422 มีดำเนินการ จัดการโครงสร้างการคมนาคมทางรถไฟเกือบทั้งหมด โดยพื้นที่ของจักรวรรดิในส่วนซิสเลอธาเนียได้รับรางรถไฟถึง 7,952 กิโลกรัม ส่วนฮังการีได้รับรางรถไฟ 5,839 กิโลกรัม ขณะที่พื้นที่อื่นๆได้เข้าร่วมเชื่อมต่อการคมนาคมทางรถไฟ ดังนั้นระบบเศรษฐกิจด้านการคมนาคมรถไฟจึงเจริญเติบโตและขยายตัวอย่างรวดเร็ว
หลังจากปีพ.ศ. 2422 รัฐบาลกลางของออสเตรีย-ฮังการีได้โอนการคมนาคมรถไฟมาเป็นของรัฐ เนื่องจากอัตราการพัฒนาระบบเศรษฐกิจได้เริ่มอยู่ในภาวะซบเซา และเฉื่อยชาลงในช่วงปีค.ศ. 1870 โดยระหว่างปีพ.ศ. 2422ถึงพ.ศ. 2443 ระยะทางของรางรถไฟทั้งหมดทั้งในพื้นที่ซิสเลอธาเนียและฮังการีทั้งหมดมากกว่า 25,000 กิโลเมตร รัฐบาลจึงได้มีการเชื่อมต่อรางรถไฟไปยังนอกเขตจักรวรรดิเพื่อความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ โดยมีองค์การคมนาคมขนส่งทางรถไฟออสเตรีย (Imperial Austrian State Railways) เป็นบริษัทเดียวในการจัดการคมนาคมทางรถไฟทั้งหมดในจักรวรรดิ
โทรคมนาคม
วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี
การศึกษา
สาธารณสุข
ประชากรศาสตร์
ความสัมพันธ์ทางเชื้อชาติ
ภาษาต่างที่กระจัดกระจายในจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี |
---|
ภาษาเยอรมัน: 24% |
ภาษาฮังการี: 20% ภาษาเช็ก: 13% |
ภาษาโปแลนด์: 10% ภาษารูเทเนียน: 8% |
ภาษาโรมาเนีย: 6% ภาษาโครเอเชีย: 5% |
ภาษาสโลวักและเซิร์บ: 4% |
ภาษาสโลวีเนียและอิตาลี: 3% |
มีความขัดแย้งเรื่องภาษาและเชื้อชาติหลังจากทุกอย่างได้ขึ้นอยู่การตัดสินใจว่า จะให้ภาษาไหนเป็นภาษาราชการ หรือlandesüblich ชาวเยอรมันที่ยึดถือระบบราชการเดิม หรือที่เป็นกลุ่มคนที่ร่ำรวยกว่าคนอื่น ชาวเยอรมันพวกนี้ต้องการที่จะให้ภาษาเยอรมันเป็นภาษาราชการและใช้กันทั่วทั้งจักรวรรดิ ขณะที่ภาษาอิตาลีได้รับการพิจารณาว่าเป็นภาษาวัฒนธรรม (Kultursprache) โดยชาวเยอรมันที่ยินยอมให้ความทัดเทียมทางภาษา แต่อีกฝ่ายหนึ่งเห็นว่า จะให้ความทัดเทียมแก่ภาษาสลาฟให้ทัดเทียมภาษาเยอรมัน อีกด้านหนึ่งเห็นว่าควรจะให้ความทัดเทียมกันทุกภาษาในจักรวรรดิ
แต่อย่างไรก็ตาม หลายปีที่ผ่านมาได้เห็นถึง การปลดปล่อยให้เป็นอิสระจากข้อบังคับทางภาษาทุกภาษา ทั่วทุกพื้นที่ในจักรวรรดิ ตามกฎหมายที่บัญญัติไว้ ฉบับพ.ศ. 2410 ว่าภาษาโครเอเชียได้รับความทัดเทียม ซึ่งจนกระทั่งเดี๋ยวนี้ เช่นเดียวกับภาษาอิตาลีซึ่งได้เป็นภาษารองของดาลมาเทีย ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2425 ได้มีเสียงข้างมากจากชาวสโลวีเนีย ในคาร์นิโอล่า และในเมืองลูบลิยานา (ซึ่งปัจจุบันเป็นเมืองหลวงของประเทศสโลวีเนีย) ได้เสนอภาษาสโลวีเนียเป็นภาษาที่มีความสำคัญมากที่สุดในจักรวรรดิ แทนที่ภาษาเยอรมัน ส่วนภาษาโปแลนด์ได้ถูกนำเสนอให้แทนที่ภาษาเยอรมันเมื่อปีพ.ศ. 2412 และให้เป็นภาษาราชการของกาลิเซีย โดยชาวกาลิเซียหรือชาวโปแลนด์ได้ปฏิเสธการพิจารณาภาษายูเครนที่ถูกเสนอโดยชนกลุ่มน้อยชาวยูเครน ดังนั้นภาษายูเครนจูงไม่ได้รับการยินยอมให้เป็นภาษาราชการ
ส่วนภาษาเช็กที่มีการถกเถียงกันให้เป็นภาษาราชการนั้นไม่ได้มีการเรียกร้องหรือประท้วงกันในโบฮีเมียและโมราเวีย ซึ่งชาวเช็คต้องการที่จะก่อตั้งภาษาของเขาให้เป็นภาษาราชการไม่ว่าจะเป็นเขตแดนอาณาจักรที่ประชากรใช้ภาษาเยอรมันเป็นภาษาราชการ และมีการเรียกร้องให้ภาษาเยอรมันให้เป็นภาษาราชการเช่นกันในเมืองปราก นครหลวงของโบฮีเมีย (ซึ่งปัจจุบันเป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐเช็ก) เมืองพิสเซน และเมืองบรุนน์ ในที่สุด ภาษาเยอรมันก็มีการนำมาเป็นส่วนหนึ่งของส่วนพื้นที่ของเช็กเมื่อปีพ.ศ. 2425 หลังจากการลงประชามติในมหาวิทยาลัยชาร์ลส์ (Charles University in Prague)
ขณะเดียวกันนั้นชาวแม็กยาร์หรือฮังการีได้เผชิญหน้ากับผู้ประท้วงหรือเรียกร้องของชาวโรมาเนียในแถบทรานซิลเวเนีย และเมืองบานัท (ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของประเทศสโลวาเกีย) นอกจากนี้ยังมีการชุมนุมเรียกร้องเรื่องภาษาราชการอีกของชาวโครเอเชียและชาวเซิร์บ ในแถบโครเอเชีย และดาลมาเทีย (ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของประเทศโครเอเชีย) นอกจากนี้ยังมีการชุมนุมประท้วงเรื่องการให้ความสำคัญของภาษาของตนในบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา และจังหวัดวอยโวดีนา (ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของประเทศเซอร์เบีย) โดยต่อมา ชาวโรมาเนียและชาวเซิร์บได้ก่อตั้งกลุ่มชาตินิยม ในนามของรัฐโรมาเนียและเซอร์เบีย (พ.ศ. 2402 - พ.ศ. 2421) ถึงแม้ว่า ผู้นำฮังการีจะแสดงความไม่พออกพอใจมากกว่าตอนที่มีการเจรจาแบ่งปันอำนาจและแยกรัฐบาลและรัฐสภากับออสเตรียเมื่อปี พ.ศ. 2410 พวกเขาได้ยอมรับขอบเขตอิสรภาพในการก่อตั้งราชอาณาจักรโครเอเชียเมื่อปีพ.ศ. 2411 ก่อนที่จะถูกผนวกรวมเข้ากับจักรวรรดิในเวลาต่อมา ซึ่งอาจพ่วงไปถึงเศรษฐกิจและการบริหารทางทหารของฮังการีที่เข้ามามีบทบาทในโครเอเชีย
ภาษาเป็นสิ่งที่นำมาถกเถียงในวาระการประชุมสภาอยู่บ่อยครั้ง โดยทุกรัฐสภาจะต้องพบกับความยากลำบากในการแบ่งแยกภาษาต่างๆในโครงสร้างของการเมือง โดยมีเสียงส่วนน้อยเห็นว่าควรจะแยกการศึกษาภาษาของตนเอง และให้การศึกษาแก่ 2 ภาษาหลักในจักรวรรดิ คือ ภาษาเยอรมันและภาษาฮังการี โดยการถกเถียงอภิปรายไม่ไว้วางใจเรื่องภาษาในจักรวรรดินั้น มีการประชุมรัฐสภากลางที่มีการกล่าวขานมากที่สุดคือ การประชุมประกาศพระราชบัญญัติ กฤษฎีกาฉบับวันที่5 เมษายน พ.ศ. 2440 โดยนายกรัฐมนตรีของออสเตรีย คาซิเมียร์ เฟลิกซ์ กราฟ บาเดอนี ได้ให้ความเสมอภาคแก่ภาษาเช็กให้มีความสำคัญเท่ากับภาษาเยอรมันในรัฐสภาของโบฮีเมีย และให้มีการศึกษาภาษาเยอรมันเป็นภาษาหลักในโบฮีเมียอแกด้วย ทั้งนี้มีพวกอนุรักษ์ชาตินิยมเยอรมันได้ปลุกปั่นให้มีการพูดภาษาเยอรมันเท่านั้นในจักรวรรดิ เป็นเหตุให้เฟลิกซ์ บาเดอนี ถูกปลดออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2450 โรงเรียนต่างๆในพื้นที่เขตสโลวักที่อยู่ในเขตของราชอาณาจักรฮังการี ซึ่งประชากรโดยประมาณ 2 ล้านคนได้ศึกษาภาษาฮังการีเพียงภาษาเดียว โดยสั่งห้ามทำสื่อที่เป็นภาษาสโลวัก และได้ทำลายหนังสือหรือหนังสือพิมพ์ที่ป็นภาษาสโลวักอีกด้วย โดยการกระทำนี้ได้มีการวิพากย์วิจารณ์เรื่องการไม่ให้ความเสมอภาคทางภาษา นำโดยบียอร์สเตียร์เน มาร์ตินุส บียอร์สัน นักเขียนชื่อดังชาวนอร์เวย์ ที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม นอกจากนี้ยังมีมิช่า เกล็นนี่ ผู้สื่อข่าวชาวอังกฤษได้วิพากย์วิจารณ์ถึงการเอารัดเอาเปรียบทางภาษาของออสเตรียที่กระทำต่อเช็ก
จักรพรรดิฟรันซ์ โยเซฟนั้น ในช่วงเวลาที่พระองค์ครองราชย์ พระองค์ทรงปกครองอาณาจักรที่มีหลายเชื้อชาติ หลายภาษา โดยพระองค์ทรงอักษรและทรงพูดภาษาอังกฤษ ภาษาเยอรมัน ภาษาฮังการี ภาษาเช็ก ภาษาโปแลนด์ รวมทั้งภาษาอิตาลี และภาษาอื่นๆอีกมากมาย ดังนั้นถือเป็นความยากลำบากอย่างหนึ่งของพระราชวงศ์ออสเตรียที่จะต้องศึกษาภาษาทุกภาษาที่มีอยู่ในจักรวรรดิ รวมทั้งภาษาอังกฤษด้วย
ภาษาต่างๆที่ใช้กันในจักรวรรดิ
พื้นที่ | ภาษาราชการ | ภาษาอื่นๆ (มากกว่า 2%) |
---|---|---|
โบฮีเมีย | ภาษาเช็ก (63.3%) | ภาษาเยอรมัน (36.7%) |
ดาลมาเทีย | ภาษาโครเอเชีย (96.2%) | ภาษาอิตาลี (2.8%) |
กาลิเซีย | ภาษาโปแลนด์ (58.6%) | ภาษายูเครน (40.2%) |
โลเวอร์ ออสเตรีย | ภาษาเยอรมัน (95.9%) | ภาษาเช็ค (3.8%) |
อัปเปอร์ ออสเตรีย | ภาษาเยอรมัน (99.7%) | - |
บูโกวิน่า | ภาษายูเครน (38.4%) | ภาษาโรมาเนีย (34.4%), ภาษาเยอรมัน (21.2%), ภาษาโปแลนด์ (4.6%) |
คารินเธีย | ภาษาเยอรมัน (78.6%) | ภาษาสโลวีเนีย (21.2%) |
คาร์นิโอล่า | ภาษาสโลวีเนีย (94.4%) | ภาษาเยอรมัน (5.4%) |
ซาร์สบูร์ก | ภาษาเยอรมัน (99.7%) | - |
ซีลีเซีย | ภาษาเยอรมัน (43.9%) | ภาษาโปแลนด์ (31.7%), ภาษาเช็ก (24.3%) |
สตีเรีย | ภาษาเยอรมัน (70.5%) | ภาษาสโลวีเนีย (29.4%) |
โมราเวีย | ภาษาเช็ก (71.8%) | ภาษาเยอรมัน (27.6%) |
ทีรอล | ภาษาเยอรมัน (57.3%) | ภาษาอิตาลี (42.1%) |
คืสเตนแลนด์ | ภาษาสโลวีเนีย (37.3%) | ภาษาอิตาลี (34.5%), ภาษาโครเอเชีย (24.4%), ภาษาเยอรมัน (2.5%) |
โวราร์ลเบิร์ก | ภาษาเยอรมัน (95.4%) | ภาษาอิตาลี (4.4%) |
ศาสนาและนิกายต่างในจักรวรรดิ
ตารางแสดงการนับถือศาสนาและนิกายต่างในจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี จากผลสำรวจเมื่อวันที่31 ธันวาคม พ.ศ. 2453 ตีพิมพ์ในหนังสือGeographischer Atlas zur Vaterlandskunde an der österreichischen Mittelschulen. K. u. k. Hof-Kartographische Anstalt G. Freytag & Berndt, Vienna, 1911.
ศาสนา/นิกาย | พื้นที่ทั้งหมด | พื้นที่ออสเตรีย | พื้นที่ฮังการี | บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา |
---|---|---|---|---|
ศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก | 76.6% | 90.9% | 61.8% | 22.9% |
ศาสนาคริสต์ นิกายโปรเตสแตนต์ | 8.9% | 2.1% | 19.0% | 0% |
ศาสนาคริสต์ นิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ | 8.7% | 2.3% | 14.3% | 43.5% |
ยิว | 4.4% | 4.7% | 4.9% | 0.6% |
มุสลิม | 1.3% | 0% | 0% | 32.7% |
เมืองสำคัญ
ข้อมูล: การสำรวจสำมะโนประชากร ใน ปี ค.ศ. 1910[1]
อันดับ | ชื่อในปัจจุบัน | ชื่ออย่างเป็นทางการร่วมสมัย[2] | อื่นๆ | ประเทศในปัจจุบัน | ประชากรใน ปี ค.ศ. 1910 | ประชากรในปัจจุบัน |
---|---|---|---|---|---|---|
1. | เวียนนา | Wien | Bécs, Beč, Dunaj | ออสเตรีย | 2,083,630 (city without the suburb 1,481,970) | 1,840,573 (Metro: 2,600,000) |
2. | ปราก | Prag, Praha | Praga | เช็กเกีย | 668,000 (city without the suburb 223,741) | 1,267,449 (Metro: 2,156,097) |
3. | ตรีเยสเต | Triest | Trst | อิตาลี | 229,510 | 204,420 |
4. | ลวีฟ | Lemberg, Lwów | Львів, Lvov | ยูเครน | 206,113 | 728,545 |
5. | กรากุฟ | Krakau, Kraków | Krakov | โปแลนด์ | 151,886 | 762,508 |
6. | กราซ | Gradec | ออสเตรีย | 151,781 | 280,020 | |
7. | เบอร์โน | Brünn, Brno | เช็กเกีย | 125,737 | 377,028 | |
8. | เชอร์นิฟซี | Czernowitz | Cernăuți, Чернівці | ยูเครน | 87,100 | 242,300 |
9. | เปิลเซน | Pilsen, Plzeň | เช็กเกีย | 80,343 | 169,858 | |
10. | ลินซ์ | Linec | ออสเตรีย | 67,817 | 200,841 |
อันดับ | ชื่อในปัจจุบัน | ชื่อย่างเป็นทางการร่วมสมัย[2] | อื่นๆ | ประเทศในปัจจุบัน | ประชากรใน ปี ค.ศ.1910 | ประชากรในปัจจุบัน |
---|---|---|---|---|---|---|
1. | บูดาเปสต์ | Budimpešta | ฮังการี | 1,232,026 (city without the suburb 880,371) | 1,735,711 (Metro: 3,303,786) | |
2. | แซแก็ด | Szegedin, Segedin | ฮังการี | 118,328 | 170,285 | |
3. | ซูบอตีตซา | Szabadka | Суботица | เซอร์เบีย | 94,610 | 105,681 |
4. | แดแบร็ตแซ็น | ฮังการี | 92,729 | 208,016 | ||
5. | ซาเกร็บ | Zágráb, Agram | โครเอเชีย | 79,038 | 790,017 | |
6. | บราติสลาวา | Pozsony | Pressburg, Prešporok | สโลวาเกีย | 78,223 | 425,167 |
7. | ทิมิโซอารา | Temesvár | Temeswar | โรมาเนีย | 72,555 | 319,279 |
8. | ออราเดีย | Nagyvárad | Großwardein | โรมาเนีย | 64,169 | 196,367 |
9. | อารัด | Arad | โรมาเนีย | 63,166 | 159,074 | |
10. | คลูช-นาโปกา | Kolozsvár | Klausenburg | โรมาเนีย | 60,808 | 324,576 |
กรุงเวียนนา
กรุงบูดาเปสต์
เมืองกราซ
เมืองปราก
เมืองลินซ์
ภาวะสงคราม
บทความหลัก การลอบปลงพระชนม์อาร์ชดยุกฟรันซ์ แฟร์ดีนันด์แห่งออสเตรีย-เอสเต
หลังจากการสิ้นพระชนม์ของจักรพรรดิแม็กซีมีเลียน พระราชอนุชาในจักรพรรดิฟรันซ์ โยเซฟ และพระราชโอรสองค์เดียวของพระองค์ อาร์คดยุครูดอล์ฟ มกุฎราชกุมารแห่งออสเตรีย-ฮังการี ทำให้พระราชนัดดาของพระองค์ อาร์คดยุคฟรันซ์ เฟอร์ดินานด์ ได้รับตำแหน่งองค์รัชทายาทสืบต่อจากอาร์คดยุครูดอล์ฟ แต่เมื่อวันที่28 มิถุนายน พ.ศ. 2457 เมื่อพระองค์เสด็จเยี่ยมราษฎรพร้อมด้วยพระชายาในเมืองซาราเยโว นครหลวงของเขตบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา ทั้งสองพระองค์ได้ถูกลอบปลงพระชนม์ด้วยกระสุนปืนโดยกาฟรีโล พรินซิป หนึ่งในสมาชิกกลุ่มแบล็คแฮนด์ นักชาตินิยมจากเซอร์เบีย เป็นเหตุให้ทั้งสองพระองค์สิ้นพระชนม์ทันที ซึ่งการลอบปลงพระชนม์ครั้งนี้เป็นสาเหตุสำคัญที่นำไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 1
การบริหารทางการทหารไม่ได้รับการบริหารที่ดีตั้งแต่การประชุมที่เบอร์ลิน (พ.ศ. 2421) ขณะที่เยอรมัน อังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซียได้ประกาศอำนาจในการประชุม โดยหลังจากการประชุมจักรวรรดิได้เสียดินแดนอิตาลีให้กับปิเอดมอนต์ รวมทั้งเสียเปรียบทางความเคลื่อนไหวทางชาตินิยม ซึ่งถูกอิตาลีจับตาดูอยู่ นอกจากนี้ออสเตรีย-ฮังการีได้สูญเสียพื้นที่ทางตอนใต้ซึ่งมีประชากรชาวสลาฟอาศัยอยู่ให้กับเซอร์เบีย ซึ่งเซอร์เบียเพิ่งจะได้รับสิทธิ์และผลประโยชน์เพิ่มเรื่องพื้นที่ หลังจากสงครามบอลข่านครั้งที่สอง เมื่อปีพ.ศ. 2455 จึงส่งผลต่อความยากลำบากภายในรัฐบาลของออสเตรียและฮังการี โดยมีสมาชิกรัฐสภาบางคน เช่น คอนราด วอน เฮิตเซนดอร์ฟ ต้องการที่จะเผชิญหน้ากับการฟื้นคืนอำนาจของการเมืองเซอร์เบียเป็นเวลาหลายปี โดยผู้นำออสเตรีย-ฮังการี เค้านท์ลีโอโพลด์ วอน เบิร์ชโทลด์ สามารถเอาคืนเซอร์เบียได้โดยมีสัมพันธมิตรอย่างเยอรมนีเข้าช่วยเหลือ โดยตัดสินใจเผชิญหน้ากับกองทัพเซอร์เบีย ก่อนที่จะกระตุ้นก่อให้เกิดการต่อต้านภายในจักรวรรดิ โดยใช้กรณีการลอบปลงพระชนม์เป็นข้ออ้างในการก่อสงครามกับเซอร์เบีย
เหตุการณ์นี้ได้นำจักรวรรดิไปสู่การพิพาทกับเซอร์เบียในเดือนกรกฎาคมและเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2457 ซึ่งนำไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 1 โดยความเคลื่อนไหวของเซอร์เบียนี้ มีรัสเซียเป็นตัวช่วยในการทำศึกสงคราม อิตาลีได้ประกาศวางตัวเป็นกลางตั้งแต่แรกเริ่งสงคราม ถึงแม้ว่าจะมีความสัมพันธไมตรีกับออสเตรีย-ฮังการี แต่ในปีพ.ศ. 2458 อิตาลีได้สร้างความเข้าใจอันดีกับออสเตรีย-ฮังการี โดยเข้าร่วมสงครามกับจักรวรรดิเผชิญหน้ากับเซอร์เบียและรัสเซีย เพื่อหวังจะได้รับแผ่นดินที่ออสเตรีย-ฮังการียึดครองไป กลับมาเหมือนเดิม ผู้บัญชาการของกองทัพคือ นายพลคอนราด วอน เฮิตเซนดอร์ฟ ซึ่งภายใต้การบังคับบัญชาของนายพลเฮิตเซนดอร์ฟนี้ ได้นำกองทัพไปสู่สมรภูมิรบในสงคราม
เมื่อเริ่มสงคราม กองทัพได้ถูกแยกออกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งบุกโจมตีเซอร์เบีย ขณะที่อีกส่วนหนึ่งได้บุกโจมตีกองทัพของรัสเซีย ซึ่งสนับสนุนเซอร์เบียและได้ประกาศสงครามกับออสเตรีย-ฮังการีด้วย การบุกรุกเซอร์เบียนั้น หาได้ประสบความสำเร็จไม่ กองทัพออสเตรีย-ฮังการีได้สูญเสียทหาร 227,000 นาย จากทหารทั้งหมด 450,000 นาย ส่วนการโจมตีกองทัพรัสเซียนั้น กองทัพจักรวรรดิสามารถเอาชนะรัสเซียในสมรภูมิเล็มเบิร์ก และสามารถล้อมเมืองพริเซ็มมิวส์ได้ แต่ก็ต้องถอนกองทัพออกเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2458
เมืองเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2458 อิตาลีได้ร่วมฝ่ายพันธมิตรเข้าโจมตีออสเตรีย-ฮังการี โดยตอนแรกนั้นอิตาลีได้เข้าร่วมทำสงครามกับออสเตรีย-ฮังการี แต่เป็นเพราะสนธิสัญญาเบอร์ลิน อิตาลีจึงยอมเข้าร่วมกับฝ่ายพันธมิตร โดยสมรภูมิแรกที่ออสเตรีย-ฮังการีต่อสู้กับอิตาลีนั้นอยู่ที่เทือกเขาแอลป์ โดยเมื่อตอนหน้าร้อน กองทัพได้รวมเข้ากับกองทัพเยอรมัน และกองทัพบัลแกเรีย พิชิตเซอร์เบีย
พ.ศ. 2459 กองทัพรัสเซียได้ถูกโจมตีอย่างหนักจากกองทัพจักรวรรดิ แต่ก็มีความสูญเสียพอๆกัน โดยกองทัพออสเตรียได้สูญเสียทหารประมาณ 1 ล้านคน การสูญเสียครั้งใหญ่หลวงนี้ ทำให้รัสเซียยอมถอนตัวจากสงคราม หลังจากรัสเซียถอนตัวจากสงครามแล้ว ก็ต้องเผชิญหน้ากับการปฏิวัติภายในจักรวรรดิรัสเซีย พ.ศ. 2460 กองทัพออสเตรีย-ฮังการีจึงอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของเยอรมัน โดยให้กองทัพเยอรมันจัดการให้ทั้งหมด แต่ในขณะที่มีการจัดการกองทัพอยู่นั้น ฝ่ายพันธมิตรได้โจมตีเยอรมันอย่างหนัก เป็นเหตุให้เยอรมันแพ้และยอมถอนตัวออกจากสงคราม เมื่อเยอรมันแพ้สงคราม ออสเตรีย-ฮังการีก็แพ้สงครามด้วยเช่นกัน
การล้มล้างจักรวรรดิ
ผลของสงครามโลกครั้งที่ 1 คือฝ่ายพันธมิตรซึ่งได้แก่จักรวรรดิอังกฤษ ฝรั่งเศส อิตาลี และสหรัฐอเมริกาได้รับชัยชนะ นักชาตินิยมได้รับกระแสนิยมในอิสรภาพมากขึ้น โดยประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา วูดโรว์ วิลสัน กล่าวในสุนทรพจน์ "ประเด็นทั้งสิบสี่" ว่า โอกาสแห่งอิสรภาพและเสรีภาพได้มาอยู่ในกำมือของเราแล้ว เราจะพัฒนาของเราเอง ในทางกลับกัน จักรพรรดิคาร์ล จักรพรรดิแห่งออสเตรีย-พระราชาธิบดีแห่งฮังการี ได้ทรงเปิดวาระประชุมในสภาอิมพีเรียล โดยมีพระบรมราชานุญาตให้มีการก่อตั้งสมาพันธรัฐพร้อมด้วยการตั้งสภาย่อยเป็นของตนเอง เพื่อรักษาความเป็นจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ขณะที่หลายฝ่ายเริ่มไม่ไว้วางใจในเสรีภาพหลังจากจบสงครามแล้ว
เมื่อวันที่14 ตุลาคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ บารอนสเตฟาน วอน ราเจ็คส์ ได้พยายามที่จะพิสูจน์ศรัทธาที่มีต่อจักรวรรดิ โดยจักรพรรดิคาร์ลได้ทรงประกาศเรื่องอนาคตของพระราชวงศ์อิมพีเรียล 2 วันหลังจากที่ออสเตรียกลายเป็นสหภาพ-สหพันธรัฐ ซึ่งประกอบด้วยอีก 4 ประเทศคือ เยอรมนี เช็ก สลาฟใต้ และยูเครน ส่วนประเทศโปแลนด์นั้นได้รับเอกราชอย่างเต็มตัว
ประเทศหลายประเทศที่เป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิต่างก็ประกาศเอกราช ไม่ขึ้นตรงต่อจักรวรรดิอีกต่อไป โดยกลุ่มประเทศแรกที่ประกาศเอกราชนั้นคือ โบฮีเมีย โมราเวีย ซีลีเซีย กาลิเซีย และบูโกวินา โดยรวมประเทศทั้งหมดเป็นสาธารณรัฐเชโกสโลวักที่ 1 เมื่อวันที่28 ตุลาคม พ.ศ. 2461 ต่อมาวันที่29 ตุลาคม สลาฟใต้ได้ประกาศเอกราชและก่อตั้งรัฐแห่งชาวสโลวีน โครแอต และเซิร์บ ต่อมา รัฐบาลฮังการีได้ประกาศสิ้นสุดความสัมพันธ์ทางสหภาพกับออสเตรียเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม ส่งผลให้ประเทศทุกประเทศที่เป็นของออสเตรีย-ฮังการี แตกแยกไปก่อตั้งประเทศเป็นของตนเอง จะมีอยู่ส่วนน้อยที่ยังขึ้นตรงต่อจักรวรรดิอยู่ เช่น เขตพื้นที่แถบอัลไพน์และดานูบ
การนำไปสู่จุดจบของจักรวรรดินี้ จักรพรรดิคาร์ล (ใช้พระนามคาร์ลที่ 4 ในฮังการี) ได้ถูกรัฐบาลของออสเตรียและฮังการีขับออกจากราชสมบัติ โดยพระองค์ไม่ทรงสละราชสมบัติ เมื่อวันที่11 - 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2461 ในความที่พระองค์ไม่ทรงสละราชสมบัตินั้น ก็ยังมีประชาชนส่วนหนึ่งที่ยังคงมีความจงรักภักดีต่อพระองค์และพระราชวงศ์อิมพีเรียลอยู่ ทำให้เกิดกระแสการฟื้นฟูสถาปนาระบอบพระมหากษัตริย์ในฮังการี เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2463 โดยพระองค์ยังคงราชสมบัติอยู่ แต่จะมีผู้สำเร็จราชการแทนคือ มิกโลช โฮร์ตี ดูแลปกครองประเทศแทนพระองค์ ส่วนตัวพระองค์พร้อมด้วยพระราชวงศ์อพยพไปที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และเกาะมาไดร่า ประเทศโปรตุเกสและประทับอยู่ที่นั่น จนกระทั่งพระองค์เสด็จสวรรคตด้วยโรคปอดบวม
ประเทศใหม่
ประเทศที่ได้ก่อตั้งใหม่หลังจากสิ้นสุดจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี มีดังนี้
เยอรมันออสเตรีย และ สาธารณรัฐออสเตรียที่ 1
สาธารณรัฐประชาธิปไตยฮังการี,สาธารณรัฐโซเวียตฮังการี,ราชอาณาจักรฮังการี- สาธารณรัฐเชโกสโลวักที่ 1
รัฐแห่งชาวสโลวีน โครแอต และเซิร์บ ต่อมาได้เข้าผนวกกับราชอาณาจักรเซอร์เบียเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2461 ในนามของราชอาณาจักรแห่งชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีน ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อประเทศเป็นราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย- สาธารณรัฐโปแลนด์ที่ 2
สาธารณรัฐประชาชนยูเครนตะวันตก และ สาธารณรัฐประชาชนยูเครน ต่อมาได้ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียตในชื่อสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน
พื้นที่บางส่วนของจักรวรรดิได้ผนวกเข้ากับราชอาณาจักรโรมาเนีย , ราชอาณาจักรอิตาลี และ ลิกเตนสไตน์ โดยมีเขตโวราร์ลเบิร์กนั้น ประชาชนได้ลงประชามติให้ผนวกเข้ากับสวิตเซอร์แลนด์
เขตพรมแดนเมื่อ พ.ศ. 2457 จักรวรรดิออสเตรีย เมื่อ พ.ศ. 2457 ราชอาณาจักรฮังการี เมื่อ พ.ศ. 2457 บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา เมื่อ พ.ศ. 2457 |
พื้นที่และอาณาเขตของจักรวรรดิ
พื้นที่ อาณาเขตและประเทศต่างๆในจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีที่ประกาศเอกราช หลังจากที่ถูกล้มล้างหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ดังนี้:
- พื้นที่เขตซิสเลอธาเนีย (พื้นที่ฝั่งซ้ายของจักรวรรดิ)
ประเทศต่างๆในจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี: ซิสเลอธาเนีย: 1. โบฮีเมีย, 2. บูโกวิน่า, 3. คารินเธีย, 4. คาร์นิโอล่า, 5. ดาลมาเทีย, 6. กาลิเซีย, 7. คืสเตนแลนด์, 8. โลเวอร์ ออสเตรีย, 9. โมราเวีย, 10. ซาร์ซบูร์ก, 11. ซีลีเซีย, 12. สตีเรีย, 13. ทีรอล, 14. อัปเปอร์ ออสเตรีย, 15. โวราร์ลเบิร์ก; ทรานส์เลอธาเนีย: 16. ราชอาณาจักรฮังการี, 17. ราชอาณาจักรโครเอเชีย-สลาโวเนีย, 18. บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาในออสเตรีย-ฮังการี |
- ประเทศออสเตรีย
- สาธารณรัฐเช็ก
- ประเทศสโลวีเนีย
- ประเทศอิตาลี
ประเทศโครเอเชีย (ดาลมาเทียและอิสเตรีย)- ประเทศโปแลนด์
- ประเทศยูเครน
- ประเทศโรมาเนีย
- ประเทศมอนเตเนโกร
- พื้นที่เขตทรานส์เลอธาเนีย (พื้นที่ฝั่งขวาของจักรวรรดิ)
- ประเทศฮังการี
- ประเทศสโลวาเกีย
ประเทศออสเตรีย (เมืองเบอร์เจนแลนด์)
ประเทศสโลวีเนีย (ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ)
ประเทศโครเอเชีย (สลาโวเนีย, และโครเอเชียตอนกลาง)- ประเทศยูเครน
ประเทศโรมาเนีย (พื้นที่เขตทรานซิลวาเนีย)
ประเทศเซอร์เบีย (พื้นที่เขตเบลเกรด)
ประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา (พื้นที่ทางภาคตะวักตกเฉียงเหนือของประเทศ)
- ออสเตรีย-ฮังการี คอนโดมีเนียม
- บอสเนียแลเฮอร์เซโกวีนา
- ประเทศมอนเตเนโกร
รัสการ์ ซึ่งเป็นรัฐอิสระ หลังจากที่ประกาศเอกราชจากออสเตรีย-ฮังการีแล้ว ได้ถูกผนวกเข้าสู่จักรวรรดิออตโตมัน เมื่อปีพ.ศ. 2465
อาณานิคมของจักรวรรดิ
- หมู่เกาะนิโคบาร์
ฟรานซ์โจเซฟแลนด์ หมู่เกาะถูกทิ้งร้างหลังพ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
ธงและตราสัญลักษณ์
ธงประจำพระราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค
ธงจักรพรรดินาวี
ธงพาณิชยนาวี
ธงชาติฮังการี
ธงประจำพระองค์ของจักรพรรดิ ค.ศ. 1815–ค.ศ. 1918
ตราอาร์มอย่างย่อของจักรวรรดิออสเตรีย (ใช้ตั้งแต่ปีค.ศ. 1915)
ตราอาร์มอย่างกลางของจักรวรรดิออสเตรีย (ใช้ตั้งแต่ปีค.ศ. 1867 สมัยเริ่มก่อตั้งจักรวรรดิใหม่)
ตราอาร์มอย่างกลางของฮังการี
ดูเพิ่ม
- รายพระนามจักรพรรดิแห่งออสเตรีย
- รายพระนามกษัตริย์แห่งฮังการี
- จักรวรรดิออสเตรีย
- จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
อ้างอิง
↑ Kogutowicz Károly, Hermann Győző: Zsebatlasz: Naptárral és statisztikai adatokkal az 1914. évre. Magyar Földrajzi Intézet R. T., Budapest 1913, S. 69, 105.
↑ 2.02.1 "Donaumonarchie Österreich-Ungarn". Donaumonarchie.com. สืบค้นเมื่อ 19 November 2013..mw-parser-output cite.citationfont-style:inherit.mw-parser-output qquotes:"""""""'""'".mw-parser-output code.cs1-codecolor:inherit;background:inherit;border:inherit;padding:inherit.mw-parser-output .cs1-lock-free abackground:url("//upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/6/65/Lock-green.svg/9px-Lock-green.svg.png")no-repeat;background-position:right .1em center.mw-parser-output .cs1-lock-limited a,.mw-parser-output .cs1-lock-registration abackground:url("//upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/d/d6/Lock-gray-alt-2.svg/9px-Lock-gray-alt-2.svg.png")no-repeat;background-position:right .1em center.mw-parser-output .cs1-lock-subscription abackground:url("//upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/a/aa/Lock-red-alt-2.svg/9px-Lock-red-alt-2.svg.png")no-repeat;background-position:right .1em center.mw-parser-output .cs1-subscription,.mw-parser-output .cs1-registrationcolor:#555.mw-parser-output .cs1-subscription span,.mw-parser-output .cs1-registration spanborder-bottom:1px dotted;cursor:help.mw-parser-output .cs1-hidden-errordisplay:none;font-size:100%.mw-parser-output .cs1-visible-errorfont-size:100%.mw-parser-output .cs1-subscription,.mw-parser-output .cs1-registration,.mw-parser-output .cs1-formatfont-size:95%.mw-parser-output .cs1-kern-left,.mw-parser-output .cs1-kern-wl-leftpadding-left:0.2em.mw-parser-output .cs1-kern-right,.mw-parser-output .cs1-kern-wl-rightpadding-right:0.2em
- Oszkár Jászi The Dissolution of the Habsburg Monarchy, Chicago: University of Chicago Press, 1966.
- Macartney, Carlile Aylmer The Habsburg Empire, 1790–1918, New York, Macmillan 1969.
- Mark Cornwall (ed.) The Last Years of Austria–Hungary in Exeter Studies in History. University of Exeter Press, Exeter. 2002. ISBN 0-85989-563-7
- Alan Sked The Decline And Fall of the Habsburg Empire, 1815–1918, London: Longman, 1989.
- A.J.P. Taylor The Habsburg monarchy, 1809–1918 : a history of the Austrian Empire and Austria-Hungary, London: Penguin Books in assoc. with Hamish Hamilton, 1964, 1948
Geographischer Atlas zur Vaterlandskunde an der österreichischen Mittelschulen. (ed.: Rudolf Rothaug), K. u. k. Hof-Kartographische Anstalt G. Freytag & Berndt, Vienna, 1911.
แหล่งข้อมูลอื่น
- The Austro-Hungarian Military
- Heraldry of the Astro-Hungarian Empire
Austria–Hungary - extensive list of heads of state, ministers, and ambassadors- History of Austro-Hungarian currency
- Austro-Hungarian Empire
|
ลำดับเหตุการณ์ของยูโกสลาเวีย | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
Pre-1918 | 1918–1929 | 1929–1945 | 1941–1945 | 1945–1946 | 1946–1963 | 1963–1992 | 1991/1992–2003 | 2003–2006 | 2006–2008 | 2008– | |
สโลวีเนีย | ส่วนหนึ่งของ จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี รวมไปถึงBay of Kotor ดูเพิ่มที่ ราชอาณาจักรโครเอเชีย โครเอเชีย-สโลวีเนีย 1868–1918 ราชอาณาจักรแดลเมเชีย 1815–1918 ดินแดนใต้การปกครองร่วมบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา 1878–1918 | ราชอาณาจักรแห่ง ชาวเซิร์บ โครแอตและสโลวีน (1918–1929) ราชอาณาจักร ยูโกสลาเวีย (1929–1945) ดูเพื่มที่ รัฐแห่งชาวสโลวีน โครแอต และเซิร์บ 1918 Republic of Prekmurje 1919 Banat, Bačka and Baranja 1918–1919 Free State of Fiume 1920–1924 1924–1945 Italian province of Zadar 1920–1947 | เป็นส่วนหนึ่งของa ฟาสซิสต์อิตาลี และ นาซีเยอรมนี | สหพันธรัฐประชาธิปไตยยูโกสลาเวีย 1945–1946 สหพันธ์สาธารณรัฐประชาชนยูโกสลาเวีย 1946–1963 สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย 1963–1992 การปกครองโดย สาธารณรัฐสังคมนิยมสโลวีเนีย (1945–1991) สาธารณรัฐสังคมนิยมโครเอเชีย (1945–1991) สาธารณรัฐสังคมนิยมบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา (1945–1992) สาธารณรัฐสังคมนิยมเซอร์เบีย (1945–1992) (รวมกับ จังหวัดสังคมนิยมอิสระวอยวอดีนา และ จังหวัดสังคมนิยมอิสระคอซอวอ) สาธารณรัฐสังคมนิยมมอนเตเนโกร (1945–1992) สาธารณรัฐสังคมนิยมมาซิโดเนีย (1945–1991) ดูเพื่มที่ ดินแดนเสรีตรีเยสเต (1947–1954) j | สาธารณรัฐสโลวีเนีย สงครามสิบวัน | ||||||
แดลเมเชีย | รัฐเอกราชโครเอเชีย 1941–1945 รัฐหุ่นเชิด ของ นาซีเยอรมนี ส่วนหนึ่งของ ฟาสซิสต์อิตาลี. Međimurje และ Baranja เป็นส่วนหนึ่งของ ฮังการี. | สาธารณรัฐโครเอเชียb สงครามประกาศเอกราชโครเอเชีย | |||||||||
Slavonia | |||||||||||
โครเอเชีย | |||||||||||
บอสเนีย | บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาc สงครามบอสเนีย ประกอบกับ สหพันธรัฐบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา (1995–ปัจจุบัน), สาธารณรัฐเซิร์ปสกา (1995–ปัจจุบัน) และ Brčko District (2000–ปัจจุบัน). | ||||||||||
เฮอร์เซโกวีนา | |||||||||||
วอยวอดีนา | ส่วนหนึ่งของ Délvidék ภูมิภาคใน ฮังการี | Autonomous Banatd (part of the German Territory of the Military Commander in Serbia) | สหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสวาเวีย ร่วมไปถึง สาธารณรัฐเซอร์เบีย (1990–2006) and สาธารณรัฐมอนเตเนโกร (1992–2006) | รัฐสหภาพเซอร์เบียและมอนเตเนโกร | สาธารณรัฐเซอร์เบีย Included the autonomous provinces of Vojvodina and, under UN administration, Kosovo and Metohija | สาธารณรัฐ เซอร์เบีย Includes the autonomous province of Vojvodina | |||||
เซอร์เบีย | ราชอาณาจักรเซอร์เบีย 1882–1918 | Territory of the Military Commander in Serbia 1941–1944 e | |||||||||
Kosovo | ส่วนหนึ่งของ ราชอาณาจักรเซอร์เบีย 1912–1918 | Mostly annexed by Albania 1941–1944 along with western Macedonia and south-eastern Montenegro | สาธารณรัฐคอซอวอg | ||||||||
Metohija | ราชอาณาจักรมอนเตเนโกร 1910–1918 Metohija ปกครองโดย ออสเตรีย-ฮังการี 1915–1918 | ||||||||||
มอนเตเนโกร | รัฐในอารักษามอนเตเนโกรf 1941–1944 | มอนเตเนโกร | |||||||||
นอร์ทมาซิโดเนีย | ส่วนหนึ่งของ ราชอาณาจักรเซอร์เบีย 1912–1918 | ผนวกเป็นส่วนหนึ่งของ ราชอาณาจักรบัลแกเรีย 1941–1944 | สาธารณรัฐนอร์ทมาซิโดเนียh | ||||||||
|
|
|
หมวดหมู่:
- จักรวรรดิ
- จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี
- รัฐสิ้นสภาพในประเทศฮังการี
- รัฐสิ้นสภาพในประเทศออสเตรีย
- ราชวงศ์ออสเตรีย
- ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค
- จักรพรรดิออสเตรีย
- รัฐสิ้นสภาพในทวีปยุโรป
- ประวัติศาสตร์ออสเตรีย
- รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2410
- สิ้นสุดในปี พ.ศ. 2461
(window.RLQ=window.RLQ||[]).push(function()mw.config.set("wgPageParseReport":"limitreport":"cputime":"0.800","walltime":"1.158","ppvisitednodes":"value":6730,"limit":1000000,"ppgeneratednodes":"value":0,"limit":1500000,"postexpandincludesize":"value":281370,"limit":2097152,"templateargumentsize":"value":23420,"limit":2097152,"expansiondepth":"value":12,"limit":40,"expensivefunctioncount":"value":2,"limit":500,"unstrip-depth":"value":1,"limit":20,"unstrip-size":"value":19583,"limit":5000000,"entityaccesscount":"value":0,"limit":400,"timingprofile":["100.00% 687.676 1 -total"," 44.27% 304.433 3 แม่แบบ:Navbox"," 21.45% 147.520 1 แม่แบบ:ราชาธิปไตยที่ถูกล้มล้าง"," 19.08% 131.199 43 แม่แบบ:Flagicon"," 11.44% 78.688 10 แม่แบบ:Country"," 11.16% 76.773 1 แม่แบบ:รายการอ้างอิง"," 10.98% 75.508 10 แม่แบบ:Country_flagcountry"," 9.54% 65.631 1 แม่แบบ:กล่องข้อมูล_อดีตประเทศ"," 9.29% 63.863 1 แม่แบบ:Cite_web"," 9.00% 61.866 1 แม่แบบ:ลำดับเหตุการณ์ของยูโกสลาเวีย"],"scribunto":"limitreport-timeusage":"value":"0.088","limit":"10.000","limitreport-memusage":"value":2419390,"limit":52428800,"cachereport":"origin":"mw1262","timestamp":"20190503080823","ttl":2592000,"transientcontent":false););"@context":"https://schema.org","@type":"Article","name":"u0e08u0e31u0e01u0e23u0e27u0e23u0e23u0e14u0e34u0e2du0e2du0e2au0e40u0e15u0e23u0e35u0e22-u0e2eu0e31u0e07u0e01u0e32u0e23u0e35","url":"https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2-%E0%B8%AE%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B5","sameAs":"http://www.wikidata.org/entity/Q28513","mainEntity":"http://www.wikidata.org/entity/Q28513","author":"@type":"Organization","name":"Contributors to Wikimedia projects","publisher":"@type":"Organization","name":"Wikimedia Foundation, Inc.","logo":"@type":"ImageObject","url":"https://www.wikimedia.org/static/images/wmf-hor-googpub.png","datePublished":"2007-07-28T06:39:38Z","dateModified":"2019-04-20T10:28:23Z","image":"https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/2/29/Flag_of_Austria-Hungary_%281869-1918%29.svg"(window.RLQ=window.RLQ||[]).push(function()mw.config.set("wgBackendResponseTime":219,"wgHostname":"mw1272"););